12/02/2551

การเดินท่อเบื้องต้น

การเดินท่อน้ำเบื้องต้น

วิธีการเดินท่อประปา

โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้านจะมีอยู่2ชนิดคือ

1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญห าแต่จะดูไม่สวยงาม
2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อย และสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว

วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน

การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (Gavanize) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่สำคัญเมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้ว จะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดินจะซ่อมแซมยาก

วิธีการใช้สต๊อปวาล์วเมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์

โดยทั่วไปการติดระบบประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์ว ในบริเวณส่วนที่ จ่ายน้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้

วิธีการตรวจสอบระบบประปา

ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบ ร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น

การวางระบบท่อน้ำในที่นี้จะกล่าวถึงการวางท่อน้ำประปา หรือท่อน้ำดีเพื่อนำไปใช้ตามส่วนต่างๆ ของบ้านและการวางท่อน้ำ
ทิ้งจากจุดต่างๆ ของบ้านลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยจะเน้นการวางท่อแบบฝัง เพราะเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับอาคารบ้านเรือนใน
ปัจจุบัน และเป็นระบบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยง่ายหากทำไว้ไม่ดีตั้งแต่แรก
ในช่วงก่อนท่อน้ำที่ใช้กันโดยทั่วไปตามบ้านจะเป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีซึ่งมีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย แต่เมื่อใช้ไปนานๆ จะ
มีปัญหาเรื่องสนิม จึงเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้น้ำเพื่อการบริโภคจากท่อชนิดนี้ ต่อมามีการนำท่อน้ำที่ทำจากพลาสติกโพลีไวนิล
คลอไรด์ (PVC) หรือที่เรียกว่าท่อพีวีซีมาใช้แทนท่อเหล็กซึ่งก็มีผู้นำมาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและไม่เป็นสนิม ต่อมา
วิวัฒนาการทางด้านพลาสติกมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ท่อพีวีซีที่ผลิตขึ้นมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ราคาไม่แพง
และยังทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีต่างๆ ได้หลายชนิด จึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามท่อน้ำที่ทำจากเหล็กก็
ยังคงใช้กันอยู่ในบางจุดที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น จุดที่ต้องรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก จุดที่ต้องรับความดันสูง หรือจุด
ที่ต้องทนต่ออุณหภูมิสูงๆ เป็นต้น

หลักการต่อท่อ

1. สำรวจเส้นทางเดินท่อและบันทึกไว้อย่างละเอียด
2. พยายามใช้ท่อให้สั้นที่สุด และสะดวกในการใช้งานมากที่สุด
3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้องอและสามทาง เนื่องจากทำให้แรงดันน้ำลดลง
4. การขันเกลียวข้อต่อต่าง ๆ ไม่ควรขันแน่นเกินควร
5. การต่อท่อ P.V.C ควรเช็ดทำความสะอาด ก่อนทาน้ำยาประสาน
6. ควรเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับสภาพบริเวณ เช่น บริเวณที่เปียกชื้น ควรเดิน ท่อฝังดิน และควรใช้ท่อ P.V.C
7. หากท่อเมนประปาอยู่ไกล ควรใช้ท่อลดขนาด เช่น ท่อเมนย่อยขนาด 1 นิ้ว ท่อใช้งานภายในบ้านควรมีขนาด ½ นิ้ว เป็นต้น

การกำหนดขนาดความยาวของท่อ การกำหนดขนาดความยาวของท่อที่นิยมมี 3 วิธี

1. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงปลายท่อ ไม่รวมข้อต่อ
2. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อ
3. กำหนดขนาดจากเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่ออีกด้านหนึ่ง
หมายเหตุ
การตัดท่อเพื่อการประกอบนั้น จะตัดท่อให้มีความยาวตามขนาดที่กำหนดไม่ได้ จะต้องตัดให้สั้นกว่า โดยลบความยาวออกประมาณ ¼ นิ้ว เมื่อสวมข้อต่อแล้วจะได้ระยะตามที่ต้องการ

การต่อท่อโลหะ

1. จับท่อด้วยปากกาหรือประแจจับท่อให้แน่น ให้ปลายท่อยื่นออกมาเล็กน้อย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเกลียว
3. ใช้เทปพันเกลียวพันประมาณ 4 – 5 รอบ
4. หมุนข้อต่อเข้ากับท่อด้วยมือจนตึงก่อน ระวังอย่าให้ปีนเกลียว
5. ใช้ประแจจับท่อจับบริเวณข้อต่อ แล้วหมุนประมาณ 1 – 2 รอบให้ตึงพอดี ๆ

การต่อท่อพลาสติก

1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. ทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อ แล้วทดลองสวมดูเพื่อทดสอบความแน่น
3. ทาน้ำยาบริเวณผิวท่อด้านนอกและข้อต่อด้านใน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที
4. ประกอบท่อเข้ากับข้อต่อโดยดันให้สุด กดไว้ประมาณ 10 วินาที
5. ตรวจสอบบริเวณรอยต่อว่าแน่นหรือไม่ แล้วเช็ดน้ำยาส่วนเกินออก

การต่อข้อต่อแบบเสียบ

1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. สวมเหล็กรัดเข้ากับปลายท่อที่จะต่อ เสียบข้อต่อเข้ากับปลายท่อดันจนสุด
3. เลื่อนเหล็กรัดมาที่ข้อต่อ ใช้ไขควงขันสกรูที่เหล็กรัดให้แน่น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการวางท่อน้ำและอุปกรณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้อง

1. ท่อน้ำที่ใช้ควรมีการประทับข้อความบนตัวท่อเป็นระยะๆ โดยบ่งบอกถึงยี่ห้อของท่อน้ำหรือบริษัทผู้ผลิต บอกชั้นของท่อว่าเป็น ชั้น 13.5 , 8.5 , หรือ 5 บอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และควรมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ด้วย
2. ท่อน้ำควรอยู่ในสภาพใหม่ ไม่มีรอยแตกหรือชำรุดมาก่อน และสีต้องไม่หม่นหมองผิดเพี้ยนไปมาก อันเนื่องมาจาก การเก็บรักษา ในสภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
3. ท่อน้ำที่ดีควรใช้ท่อสีฟ้า 13.5 ทั้งหมด ในขณะที่ท่อสำหรับระบายน้ำและสิ่งปฏิกูลตามจุดต่างๆภายในบ้าน โดยเฉพาะ
ท่อที่ต้อง เดินฝังอยู่ภายในเสา ผนังหรือพื้น ควรใช้ท่อสีฟ้าชั้น 8.5 เป็นอย่างน้อยเพื่อความทนทานในการใช้งาน
4. ในการเดินท่อแบบฝังภายในผนัง จุดปลายของท่อที่ยื่นออกจากผนังสำหรับติดตั้งวาล์วหรือก๊อกน้ำจะมีการติดตั้งข้อต่อ
ชนิดเกลียว ในไว้สำหรับสวมกับวาล์วหรือก๊อกน้ำในภายหลัง ข้อต่อดังกล่าวควรจะเป็นข้อต่อชนิดที่ทำด้วยเหล็กไม่ควรใช้ข้อต่อพลาสติก
เพื่อป้องกันการแตกชำรุดที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากต้องมีการเปลี่ยนหัวก๊อก เพราะจุดนี้จะทำการซ่อมแซมได้ลำบาก
5. สำหรับบ้านที่ใช้อ่างอาบน้ำโดยไม่มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนและมีการเดินท่อน้ำแบบฝังอยู่ภายในผนัง ท่อน้ำร้อนที่ฝัง อยู่ภายในผนัง ที่เชื่อมระหว่างตัวเครื่องทำน้ำร้อนที่อยู่ด้านบนกับวาล์วควบคุมการเปิดและปิดน้ำร้อนที่อยู่ด้านล่างตรงอ่างอาบน้ำควรใช้
ท่อเหล็กแทนการใช้ท่อพีวีซี เพื่อป้องกันการชำรุดของท่อที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความร้อนของน้ำ
6. ในการเดินท่อน้ำแบบฝัง ก่อนที่จะทำการเทพื้นหรือฉาบผนังทับตรงจุดที่มีการเดินท่อควรมีการทดสอบการไหลของน้ำ
และตรวจตรา อย่างถี่ถ้วนว่าท่อน้ำที่เดินไว้ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำประปาหรือท่อระบายน้ำทิ้งอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยไม่มีการรั่วซึม เพราะถ้า
หากเทปูนหรือฉาบปูนทับไปแล้วท่อน้ำเกิดการรั่วซึมขึ้นมาในภายหลังจะแก้ไขได้ยาก

11/22/2551

ประเภทสายไฟฟ้า

การแบ่งประเภทของสายไฟฟ้า สายไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ


ก. สายไฟฟ้าที่มีฉนวนห่อหุ้ม สายไฟฟ้าชนิดนี้มีใช้งานกันมากตามอาคารบ้านเรือน
และอุปกรณ์ไฟฟ้าหลาย ๆ ชนิด สายไฟฟ้าที่มีฉนวนห่อหุ้มยังมีหลายชนิดได้แก่

- สายไฟฟ้าที่ห่อหุ้มภายนอกด้วยด้ายถัก ได้แก่ สายไฟฟ้าที่ห่อหุ้มด้วยยาง แต่
ภายนอกจะถักด้ายห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ใช้กับเตารีดและเครื่องให้ความร้อน

- สายหุ้มยาง เป็นสายไฟฟ้าที่หุ้มด้วยยางที่มีทั้งแบบธรรมดาและแบบทนความร้อน
สายไฟฟ้าแบบนี้จะเปื่อยและเสื่อมคุณภาพเร็ว ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้งาน

- สายหุ้ม PVC ชนิดนี้มีความทนทานต่อดินฟ้าอากาศ ไม่ติดไฟ ทนความร้อน
แข็งเหนียว ไม่เปื่อยง่าย นิยมใช้งานมากที่สุด

- สายหุ้มพลาสติกธรรมดา เป็นสายอ่อนเส้นเล็ก ภายในมีหลายเส้น เป็นสายไฟ
ที่ไม่ถาวร ติดไฟได้ง่าย

- สายเดี่ยว เป็นสายไฟฟ้า 1 เส้น มี 1 แกน ใช้เดินทั้งภายในและภายนอกอาคาร
สายไฟฟ้าชนิดนี้ ถ้าเดินในอาคารนิยมใช้ร้อยในท่อแล้วยึดท่อกับผนัง หรือฝังท่อในเสาหรือพื้น
บางครั้งก็นำมาใช้เดินภายนอกอาคาร การเดินสายเดี่ยวนี้ไม่นิยมเดินตีคลิป แต่จะเดินในท่อ
หรือวางรางเหล็กเสมอ หรือยึดติดกับผนังโดยใช้ประกับยึดเป็นช่วง ๆ ดังแสดงในรูป

- สายคุ่ เป็นายไฟฟ้าที่ใช้เดินภายในอาคาร เป็นสายไฟฟ้าชนิด 1 เส้นมี 2 แกน
หรือาจทำพิเศษให้มี 3 แกน โดยมีสายดินอีก 1 แกน ดังแสดงในรูป


- สายเคเบิลใต้ดิน เป็นสายไฟฟ้าชนิดที่มีฉนวน PVC หุ้มลวดทองแดงอยู่แล้ว
ยังมีฉนวนหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่ง ดังแสดงในรูป


สายเคลือบน้ำยาหรือสายอีนาเมล เป็นสายเปลือยที่เคลือบน้ำยาเคมี ใช้งาน
กันมากในงานพันขดลวดไดนาโม มอเตอร์ หม้อแปลง ฯลฯ

- สายที่มีเปลือกโลหะหุ้ม นิยมใช้ฝังเข้ากับผนังตึก สายไฟฟ้าชนิดนี้มีราคาแพง

ข. สายไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนห่อหุ้มภายนอก ใช้เป็นสายไฟฟ้าแรงสูงที่เชื่อมโยงระหว่าง
เขื่อนกับสถานีจ่ายไฟหรือเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดต่าง ๆ สายเปลือยสามารถจุกระแสไฟฟ้า
ได้มากกว่าสายหุ้มฉนวนที่มีขนาดและพื้นที่เท่ากันได้เกือบเท่าตัว เนื่องจากขึงไว้ในที่สูงและ
มีลมพัดผ่านตลอดเวลา เป็นการระบายความร้อนให้กับสายไฟฟ้า ทำให้สายไฟฟ้าไม่เกิด
ความร้อน สายเปลือยใช้กับระบบไฟแรงสูงที่มีแรงดัน 11 กิโลโวลต์ขึ้นไป สายเปลือยที่นิยม
ใช้งานได้แก่ สายอะลูมิเนียม เพราะมีน้ำหนักเบาและราคาถูก มีอยู่หลายชนิดได้แก่

- สายอะลูมิเนียมล้วน ทำจากเส้นลวดอะลูมิเนียมล้วนขนาดเท่า ๆ กัน พันตีเกลียว
เป็นชั้น ๆ สายไฟฟ้าชนิดนี้รับแรงดึงได้ต่ำมาก จึงไม่สามารถขึ้งสายไฟให้มีระยะห่างมาก ๆ ได้

- สายอะลูมิเนียมผสม เป็นสายไฟที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม 99% แมกนีเซียม
0.5% และซิลิคอน 0.5% มีความเหนียวและสามารถรับแรงดึงได้สูงกว่าอะลูมิเนียมล้วน ใช้
ขึ้งสายไฟที่มีระยะห่างมาก ๆ ใช้ในงานเดินสายไฟบริเวณชายทะเล

- สายอะลูมิเนียมแกนเหล็ก เป็นสายอะลูมิเนียมตีเกลียวที่มีสายเหล็กอยู่ตรงกลาง
ทำให้รับแรงดึงได้สูงขึ้น จึงนิยมใช้สายอะลูมิเนียมแกนเหล็กกับสายงานสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่มี
ระยะห่างของช่วงเสายาวมาก ๆ เช่น เสาโครงเหล็ก สายอะลูมิเนียมแกนเหล็กจะไม่ใช้งานใน
บริเวณชายทะเล เพราะไอของเกลือจะเกิดการกัดกร่อนสายไฟฟ้า ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

- สายอะลูมิเนียมแกนโลหะผสม เป็นสายไฟฟ้าแรงสูงที่คล้ายกับสายอะลูมิเนียม
แกนเหล็ก แต่รับแรงดึงได้น้อยกว่า

ท่อฟ้า ตร้างช้าง



For high pressure work and water supply system. Super rubber ring pipes have arctic blue colour and certified by Thai Industrial Standard (TIS 17 - 2532) Pipes with ? of 65-400 mm" (2 1/2" -16 -) for class 8.5 and 13.5 the standard length in 6 meters.
FEATURES OF "ELEPHANT" SRR PVC PIPES
1. SRR pipe is manufactured with advanced technology conforming to Thai Industrial Standard TIS 17-2532 (Unplasticized PVC pipe for water supply). The extra thickness by 20-25% (tX) at the joint section of the pipe to ensure that the joint section can withstand the normal pressure.
2. SRR pipe is designed with hip up rubber ring socket. The pipe edge is chamfered by 15 - and marked with inserting length position. The rubber groove has a large slope preventing the rubber from slipping during installation plus larger seal contact area to prevent leakage over long period.
3. SRR pipe has leakage preventing property when it bent or misaligned due to weak soil foundation transformation of due to earthquake.
4. method of joining SRR pipe is by inserting the pipe end into joint section end of the pipe with the rubber ring already inserted. This forces the rubber seal to fit tightly. At the same time, the reaction force will make the rubber ring firmly stick to the pipe wall. Installation of pipe connection is easier when using the "ELEPHANT" pipe lube

จำหน่ายสายไฟ้ฟ้า

บริษัทจำหน่ายสายไฟฟ้า จำหน่ายสายไฟฟ้า ไทยยาซากิ เฟลดอดท์ บางกอกเคเบิ้ล จรุงไทยฯลฯ


สายไฟฟ้า มาตรฐาน จาก กระทรวง อุตสาหกรรม TIS. 11-2531

THW : 750 V 70oC PVC INSULATED, SINGLE CORE.

สายไฟฟ้า

CONDUCTOR : Solid and stranded annealed copper,
Size 0.5 mm2 up to 500 mm2
INSULATION : PVC-Any colour.
CLASSIFICATION : Maximum conductor temperature 70oC.
Circuit voltage not exceeding 750 volts.
TESTING VOLTAGE : 2,500 volts.
REFERENCE : TIS 11-2531, Table 4

VAF : 300V 70oC PVC INSULATED AND SHEATHED FLAT TYPE.


NUMBER OF CORE : 2 cores.
CONDUCTOR : Solid and stranded annealed copper,
Size 0.5 mm2 up to 35 mm2
INSULATION : PVC.
COLOUR : Light Grey, Black
SHEATH : PVC.
COLOUR : White.
CLASSIFICATION : Maximum conductor temperature 70oC.
Circuit voltage not exceeding 300 volts.
TESTING VOLTAGE : 3000volts.
REFERENCE : TIS 11-2531, Table 2


VAF-GRD : 300V 70oC PVC INSULATED AND SHEATHED FLAT TYPE, WITH GROUND.


NUMBER OF CORE : 2 cores.
CONDUCTOR : Solid and stranded annealed copper,
Size 1 mm2 up to 35 mm2
GROUND WIRE : Ground conductor size 1 mm.2up to 10 mm.2
INSULATION : PVC.
COLOUR : 2 core-Light grey, Black.
3 core-Light grey, Black, Red.
Ground core-Green/Yellow
SHEATH : PVC. colour : White
CLASSIFICATION : Maximum conductor temperature 70oC.
Circuit voltage not exceeding 300 volts.
TESTING VOLTAGE : 2,000 volts.
REFERENCE : TIS 11-2531, Table 11


VCT : 750 70oC PVC INSULATED AND SHEATHED FLEXIBLE CABLE


NUMBER OF CORE : Up to 4 cores.
CONDUCTOR : Flexible annealed copper wires.
Size 0.5 mm2 up to 95 mm2for single core.
Size 0.5 mm2 up to 35 mm2for multi core.
INSULATION : PVC.
COLOUR : Single core-Black.
2 core-Light grey, Black.
3 core-Light grey, Black, Red.
4 core-Light grey, Black, Red, Blue.
SHEATH : PVC.
COLOUR : Black
CLASSIFICATION : Maximum conductor temperature 70oC.
Circuit voltage not exceeding 750 volts.
TESTING VOLTA
GE : 2,500 volts.
REFERENCE : TIS 11-2531, Table 9

11/20/2551

ขอบเขตของผู้ตรวจสอบอาคาร

ขอบเขตของผู้ตรวจสอบอาคาร
การตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคารอาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ตามที่กำหนดและตามที่ต้องการได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตของผู้ตรวจสอบ ดังนี้
ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่ตรวจสอบ สังเกตด้วยสายตาพร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ ทำรายงาน รวบรวมและสรุปผลการวิเคราะห์ ทางด้านความมั่นคงแข็งแรง และระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้สอยอาคาร แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ทำการตรวจสอบนั้นให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อให้เจ้าของอาคารเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี
ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
1.หลักเกณฑ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการก่อสร้างอาคารนั้น หรือ
2.มาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันของทางราชการ สภาวิศวกร หรือสภาสถาปนิก
“ ทั้งนี้ ณ สถานที่ วัน และเวลาที่ทำการตรวจสอบตามที่ระบุในรายงานเท่านั้น”

11/19/2551

การเดินท่อน้ำเบื้องต้น

การเดินท่อน้ำเบื้องต้น

วิธีการเดินท่อประปา

โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้านจะมีอยู่2ชนิดคือ

1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญห าแต่จะดูไม่สวยงาม
2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อย และสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว

วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน

การเดินท่อประปาจะมีทั้งท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (Gavanize) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่สำคัญเมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้ว จะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดินจะซ่อมแซมยาก

วิธีการใช้สต๊อปวาล์วเมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์

โดยทั่วไปการติดระบบประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์ว ในบริเวณส่วนที่ จ่ายน้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้

วิธีการตรวจสอบระบบประปา

ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบ ร้อย นอกจากภายในบ้านแล้ว ยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน ลง ก็ควรแจ้งไปยังสำนักงานประปาในเขตนั้น

การวางระบบท่อน้ำในที่นี้จะกล่าวถึงการวางท่อน้ำประปา หรือท่อน้ำดีเพื่อนำไปใช้ตามส่วนต่างๆ ของบ้านและการวางท่อน้ำ
ทิ้งจากจุดต่างๆ ของบ้านลงสู่ท่อระบายน้ำ โดยจะเน้นการวางท่อแบบฝัง เพราะเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับอาคารบ้านเรือนใน
ปัจจุบัน และเป็นระบบที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยง่ายหากทำไว้ไม่ดีตั้งแต่แรก
ในช่วงก่อนท่อน้ำที่ใช้กันโดยทั่วไปตามบ้านจะเป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีซึ่งมีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย แต่เมื่อใช้ไปนานๆ จะ
มีปัญหาเรื่องสนิม จึงเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้น้ำเพื่อการบริโภคจากท่อชนิดนี้ ต่อมามีการนำท่อน้ำที่ทำจากพลาสติกโพลีไวนิล
คลอไรด์ (PVC) หรือที่เรียกว่าท่อพีวีซีมาใช้แทนท่อเหล็กซึ่งก็มีผู้นำมาใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและไม่เป็นสนิม ต่อมา
วิวัฒนาการทางด้านพลาสติกมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ท่อพีวีซีที่ผลิตขึ้นมีความแข็งแรงทนทาน น้ำหนักเบา ไม่เป็นสนิม ราคาไม่แพง
และยังทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีต่างๆ ได้หลายชนิด จึงเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามท่อน้ำที่ทำจากเหล็กก็
ยังคงใช้กันอยู่ในบางจุดที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น จุดที่ต้องรับน้ำหนักหรือแรงกระแทก จุดที่ต้องรับความดันสูง หรือจุด
ที่ต้องทนต่ออุณหภูมิสูงๆ เป็นต้น

หลักการต่อท่อ

1. สำรวจเส้นทางเดินท่อและบันทึกไว้อย่างละเอียด
2. พยายามใช้ท่อให้สั้นที่สุด และสะดวกในการใช้งานมากที่สุด
3. หลีกเลี่ยงการใช้ข้องอและสามทาง เนื่องจากทำให้แรงดันน้ำลดลง
4. การขันเกลียวข้อต่อต่าง ๆ ไม่ควรขันแน่นเกินควร
5. การต่อท่อ P.V.C ควรเช็ดทำความสะอาด ก่อนทาน้ำยาประสาน
6. ควรเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับสภาพบริเวณ เช่น บริเวณที่เปียกชื้น ควรเดิน ท่อฝังดิน และควรใช้ท่อ P.V.C
7. หากท่อเมนประปาอยู่ไกล ควรใช้ท่อลดขนาด เช่น ท่อเมนย่อยขนาด 1 นิ้ว ท่อใช้งานภายในบ้านควรมีขนาด ½ นิ้ว เป็นต้น

การกำหนดขนาดความยาวของท่อ การกำหนดขนาดความยาวของท่อที่นิยมมี 3 วิธี

1. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงปลายท่อ ไม่รวมข้อต่อ
2. กำหนดขนาดจากปลายท่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อ
3. กำหนดขนาดจากเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่อถึงเส้นผ่าศูนย์กลางข้อต่ออีกด้านหนึ่ง
หมายเหตุ
การตัดท่อเพื่อการประกอบนั้น จะตัดท่อให้มีความยาวตามขนาดที่กำหนดไม่ได้ จะต้องตัดให้สั้นกว่า โดยลบความยาวออกประมาณ ¼ นิ้ว เมื่อสวมข้อต่อแล้วจะได้ระยะตามที่ต้องการ

การต่อท่อโลหะ

1. จับท่อด้วยปากกาหรือประแจจับท่อให้แน่น ให้ปลายท่อยื่นออกมาเล็กน้อย
2. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเกลียว
3. ใช้เทปพันเกลียวพันประมาณ 4 – 5 รอบ
4. หมุนข้อต่อเข้ากับท่อด้วยมือจนตึงก่อน ระวังอย่าให้ปีนเกลียว
5. ใช้ประแจจับท่อจับบริเวณข้อต่อ แล้วหมุนประมาณ 1 – 2 รอบให้ตึงพอดี ๆ

การต่อท่อพลาสติก

1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. ทำความสะอาดปลายท่อที่จะต่อ แล้วทดลองสวมดูเพื่อทดสอบความแน่น
3. ทาน้ำยาบริเวณผิวท่อด้านนอกและข้อต่อด้านใน ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที
4. ประกอบท่อเข้ากับข้อต่อโดยดันให้สุด กดไว้ประมาณ 10 วินาที
5. ตรวจสอบบริเวณรอยต่อว่าแน่นหรือไม่ แล้วเช็ดน้ำยาส่วนเกินออก

การต่อข้อต่อแบบเสียบ

1. ตัดท่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ขจัดรอยเยินบริเวณปลายท่อให้เรียบร้อย
2. สวมเหล็กรัดเข้ากับปลายท่อที่จะต่อ เสียบข้อต่อเข้ากับปลายท่อดันจนสุด
3. เลื่อนเหล็กรัดมาที่ข้อต่อ ใช้ไขควงขันสกรูที่เหล็กรัดให้แน่น

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการวางท่อน้ำและอุปกรณ์บางอย่างที่เกี่ยวข้อง

1. ท่อน้ำที่ใช้ควรมีการประทับข้อความบนตัวท่อเป็นระยะๆ โดยบ่งบอกถึงยี่ห้อของท่อน้ำหรือบริษัทผู้ผลิต บอกชั้นของท่อว่าเป็น ชั้น 13.5 , 8.5 , หรือ 5 บอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ และควรมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ด้วย
2. ท่อน้ำควรอยู่ในสภาพใหม่ ไม่มีรอยแตกหรือชำรุดมาก่อน และสีต้องไม่หม่นหมองผิดเพี้ยนไปมาก อันเนื่องมาจาก การเก็บรักษา ในสภาพที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
3. ท่อน้ำที่ดีควรใช้ท่อสีฟ้า 13.5 ทั้งหมด ในขณะที่ท่อสำหรับระบายน้ำและสิ่งปฏิกูลตามจุดต่างๆภายในบ้าน โดยเฉพาะ
ท่อที่ต้อง เดินฝังอยู่ภายในเสา ผนังหรือพื้น ควรใช้ท่อสีฟ้าชั้น 8.5 เป็นอย่างน้อยเพื่อความทนทานในการใช้งาน
4. ในการเดินท่อแบบฝังภายในผนัง จุดปลายของท่อที่ยื่นออกจากผนังสำหรับติดตั้งวาล์วหรือก๊อกน้ำจะมีการติดตั้งข้อต่อ
ชนิดเกลียว ในไว้สำหรับสวมกับวาล์วหรือก๊อกน้ำในภายหลัง ข้อต่อดังกล่าวควรจะเป็นข้อต่อชนิดที่ทำด้วยเหล็กไม่ควรใช้ข้อต่อพลาสติก
เพื่อป้องกันการแตกชำรุดที่อาจเกิดขึ้นในภายหลังหากต้องมีการเปลี่ยนหัวก๊อก เพราะจุดนี้จะทำการซ่อมแซมได้ลำบาก
5. สำหรับบ้านที่ใช้อ่างอาบน้ำโดยไม่มีการติดตั้งเครื่องทำน้ำร้อนและมีการเดินท่อน้ำแบบฝังอยู่ภายในผนัง ท่อน้ำร้อนที่ฝัง อยู่ภายในผนัง ที่เชื่อมระหว่างตัวเครื่องทำน้ำร้อนที่อยู่ด้านบนกับวาล์วควบคุมการเปิดและปิดน้ำร้อนที่อยู่ด้านล่างตรงอ่างอาบน้ำควรใช้
ท่อเหล็กแทนการใช้ท่อพีวีซี เพื่อป้องกันการชำรุดของท่อที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความร้อนของน้ำ
6. ในการเดินท่อน้ำแบบฝัง ก่อนที่จะทำการเทพื้นหรือฉาบผนังทับตรงจุดที่มีการเดินท่อควรมีการทดสอบการไหลของน้ำ
และตรวจตรา อย่างถี่ถ้วนว่าท่อน้ำที่เดินไว้ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำประปาหรือท่อระบายน้ำทิ้งอยู่ในสภาพที่เรียบร้อยไม่มีการรั่วซึม เพราะถ้า
หากเทปูนหรือฉาบปูนทับไปแล้วท่อน้ำเกิดการรั่วซึมขึ้นมาในภายหลังจะแก้ไขได้ยาก

ข่าวสารผู้ตรวจสอบอาคาร

ล้อมคอกตึกสูงตรวจเข้มความปลอดภัย กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ดำเนินการออกกฎกระทรวงมหาดไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร เกี่ยวกับการกำหนดให้เจ้าของอาคาร ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง ของโครงสร้างอาคารและระบบอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ซึ่งขณะนี้กฎกระทรวงดังกล่าว มีผลบังคับใช้แล้ว โดยเจ้าของอาคารจะต้องทำการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงอาคารให้แล้วเสร็จก่อน วันที่ 30 ธ.ค. 50 และมีการตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบย่อยทุกปี และหากมีข้อบกพร่องผู้ตรวจสอบอาคาร จะแจ้งให้เจ้าของอาคารแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วส่งรายงานผลการตรวจสอบที่ถูกต้องสมบูรณ์ ให้เจ้าของอาคาร หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขให้ถูกต้องตามรายงานที่ผู้ตรวจสอบอาคารแจ้ง ก็จะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่งและอาญา แต่หากไม่มีการดำเนินการหลังจากแจ้งเตือนแล้วก็จะระงับการใช้อาคาร ผู้ตรวจสอบอาคารจะแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรับทราบ และแจ้งให้เจ้าของอาคารปฏิบัติตามผลการพิจารณาภายใน 30 วัน หากเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย และมีความปลอดภัยในอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับรองการตรวจสอบอาคารให้แก่เจ้าของอาคาร อาคารที่เข้าข่ายกฎกระทรวงดังกล่าว ครอบคลุมเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร 9 ประเภท ดังนี้ 1.อาคารสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป 2.อาคารขนาดใหญ่พิเศษมีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป 3.อาคารชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป 4.โรงมหสพ 5.โรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป 6.สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป 7.อาคารชุดหรืออาคารที่อยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป 8.โรงงานที่สูงมากกว่า 1ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป และ 9.ป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าที่มีพื้นที่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป ซึ่งอาคารทั่วประเทศที่เข้าข่ายมีทั้งสิ้น 20,000 อาคาร ในจำนวนดังกล่าว เป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษใน กทม. 5,000 อาคาร สำหรับผู้ตรวจสอบอาคาร จะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ 1.เป็นวิศวกร สถาปนิก หรือนิติบุคคล ที่มีใบอนุญาต การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือสถาปัตยกรรมควบคุม 2.ผ่านการอบรมจากสถาบันจัดอบรมผู้ตรวจสอบที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง 3.สอบผ่านหลักเกณฑ์ที่ดำเนินการสอบ โดยสภาวิศวกรหรือสภาสถาปนิก ซึ่งปีนี้ได้ดำเนินการสอบวัดผลครั้งแรก แก่ผู้จะขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ในวันที่ 25 พ.ย., 16 ธ.ค. และ 23 ธ.ค.49 คาดปีนี้จะได้ผู้ตรวจสอบอาคารที่ผ่านเกณฑ์ได้รับใบอนุญาต 2,000 คน และ 4.มีสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคาร จะต้องทำกับบริษัทประกันคิดเป็นวงเงินขั้นต่ำ 2 ล้านบาท ด้าน นายวิระ มาวิจักขณ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า การที่กรมโยธาธิการฯ ได้ออกกฎกระทรวงให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารครั้งนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินแล้ว ยังช่วยสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ ทั้งสถาปนิก และวิศวกรด้วย คาดว่าเบื้องต้นหลังจากที่มีการบังคับให้อาคารทั่วประเทศจำนวน 20,000 อาคาร ที่เข้าข่ายจะต้องตรวจสอบความปลอดภัย เชื่อว่าจะทำให้เกิดธุรกิจบริการรูปแบบใหม่คิดเป็นมูลค่าทางธุรกิจจากค่าบริการตรวจสอบ 100 ล้านบาท

11/18/2551

ข้อบังคับสภาวิศวกร

ข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมและการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้กำหนดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ดังต่อไปนี้

๑. ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

บทบัญญัติในข้อนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีลักษณะกว้างเพื่อให้ครอบคลุมพฤติกรรม หรือลักษณะการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของวิศวกรผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมอันดี มีความภาคภูมิในในเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพของตนเอง


๒. ต้องปฏิบัติงานที่ได้รับทำอย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการ

บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร ต้องรับผิดชอบในผลการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักปฏิบัติและ วิชาการ โดยจะต้องศึกษาถึงหลักเกณฑ์ของงานวิศวกรรม และหลักเกณฑ์ของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพ เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมความปลอดภัยในการทำงานสาขาต่างๆ เป็นต้น

กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๓ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๔/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๔ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๓/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๕ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖)
กรณีศึกษา ๖ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๔/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๖)
กรณีศึกษา ๗ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗)
กรณีศึกษา ๘ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๘/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๖)


๓. ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ต้องประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อเป็นการส่งเสริมมิให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หากเป็นกรณีที่มิใช่เรื่องเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม แต่ผู้ประกอบวิชาชีพได้กระทำการใดๆ อย่างไม่ซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้อื่น และไต่สวนแล้วเห็นว่ามีความผิดจริง อาจลงโทษโดยไม่ใช้บทบัญญัตินี้ แต่ไปใช้บทบัญญัติตามข้อ ๑ คือกระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพแทนได้

กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๒/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗)


๔. ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ที่มีอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้อื่นในด้านต่างๆ ใช้อำนาจหน้าที่อันเป็นการ บีบบังคับ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับงาน หรือบังคับผู้อื่นไม่ให้งานนั้นแก่ฝ่ายตรงกันข้าม ทั้งนี้งานนั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นงานเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และบุคคลทั่วไปหากต้องเสียประโยชน์จากการกระทำของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย สามารถร้องเรียนกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนั้น เพื่อให้คณะกรรมการจรรยาบรรณพิจารณาความผิดทางจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพได้


๕. ไม่เรียก รับ หรือยอมรับทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ จากผู้รับเหมา หรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องในงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเมื่อได้รับงานจากผู้ว่าจ้างแล้ว ต้องรักษาผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง เสมือนกับที่วิญญูชนทั่วไปพึงรักษาผลประโยชน์ของตนเอง จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพในข้อนี้ มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประกอบวิชาชีพของตนเองด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผลประโยชน์อื่นที่มิควรได้ นอกจากค่าจ้างที่ได้รับทำงานให้กับผู้ว่าจ้าง เพราะหากปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เอารัดเอาเปรียบผู้ว่าจ้างแล้ว ความเสื่อมศรัทธาต่อบุคคลและสถาบันแห่งวิชาชีพจะเกิดขึ้น บทบัญญัติในข้อนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของบุคคลทั่วไปด้วย


๖. ไม่โฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นโฆษณา ซึ่งการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความเป็นจริง

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแข่งขันกันรับงานโดยการโฆษณา ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแตกแยก เนื่องจากการแย่งงานกันทำ และส่งผลให้เกิดการแตกความสามัคคีในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน

กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๑/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖)


๗. ไม่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมรับงานโดยไม่คำนึงถึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและสังคมได้ อนึ่ง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถที่ตนเองจะทำได้นั้น หมายถึงการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเกินความสามารถตามที่กฎหมายกำหนด และรวมถึงความสามารถที่ตนเองจะทำได้ตามความเป็นจริงด้วย

กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ ( คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๓/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗ )


๘. ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร

บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์เป็นการควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ เมื่อรับปฏิบัติงานแล้ว ต้องมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับทำ เพราะหากปล่อยให้มีการละทิ้งงาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้มีการประกอบวิชาชีพอันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแห่งวงการวิชาชีพ

กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๒/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘)
กรณีศึกษา ๒ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๑๐/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗)


๙. ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ในงานที่ตนเองไม่ได้รับทำ ตรวจสอบ หรือควบคุมด้วยตนเอง

บทบัญญัติในข้อนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งควบคุมให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมีความ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น หากไม่สามารถรับปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้แล้ว ก็ไม่ควรลงลายมือชื่อเป็นผู้รับทำงานนั้น เพราะจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ว่าจ้าง และบุคคลภายนอกได้


๑๐. ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองวงการของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลทั่วไป เนื่องจากหากบุคคลทั่วไปไม่เชื่อถือผู้ประกอบวิชาชีพแล้ว ก็จะเกิดความเสื่อมศรัทธาต่อผู้ประกอบวิชาชีพและสถาบันแห่งวิชาชีพได้ ผู้ประกอบวิชาชีพอยู่ในฐานะที่รู้ความลับของ ผู้ว่าจ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเอกสิทธิ์และหน้าที่ที่จะไม่เปิดเผยความลับนั้น ถ้าเปิดเผยความลับโดยประการ ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างก็ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ


๑๑. ไม่แย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้เกิดความแตกแยก ไม่มีความสามัคคี โดยมุ่งให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน


๑๒. ไม่รับทำงาน หรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นทำอยู่ เว้นแต่เป็นการทำงานหรือตรวจสอบตามหน้าที่ หรือแจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกความสามัคคีในกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมด้วยกัน

กรณีศึกษา ๑ (คำวินิจฉัยคณะกรรมการจรรยาบรรณที่ ๗/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗)


๑๓. ไม่รับดำเนินงานชิ้นเดียวกันให้แก่ผู้ว่าจ้างรายอื่น เพื่อการแข่งขันราคา เว้นแต่ได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายแรกทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร หรือได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ว่าจ้างรายแรก และได้แจ้งให้ผู้ว่าจ้างรายอื่นนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว


๑๔. ไม่ใช้หรือคัดลอกแบบ รูป แผนผัง หรือเอกสาร ที่เกี่ยวกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่นนั้น

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมให้มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน มิให้เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับรายการคำนวณอันเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม


๑๕. ไม่กระทำการใดๆ โดยจงใจให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

บทบัญญัติข้อนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างความสามัคคีของกลุ่มผู้มีวิชาชีพเดียวกัน คือต้องมีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยไม่กระทำการใดๆ ให้เป็นที่เสื่อมเสียชื่อเสียง หรืองานของ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมอื่น

พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. ๒๕๔๒

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพวิศวกรรม

พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๙ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “ พระราชบัญญัติวิศวกร พ . ศ ๒๕๔๒ ”

มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
( ๑ ) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕
( ๒ ) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม ( ฉบับที่ ๒ ) พ . ศ . ๒๕๑๒
( ๓ ) พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม ( ฉบับที่ ๓ ) พ . ศ . ๒๕๒๐

มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ วิชาชีพวิศวกรรม ” หมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรมในสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และ สาขาวิศวกรรมอื่น ๆ ที่กำหนดในกฎกระทรวง
“ วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ” หมายความว่า วิชาชีพวิศวกรรมที่กำหนดใน กฎกระทรวง
“ ใบอนุญาต ” หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามพระราชบัญญัตินี้
“ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร
“ สมาชิก ” หมายความว่า สมาชิกสภาวิศวกร
“ กรรมการ ” หมายความว่า กรรมการสภาวิศวกร
“ คณะกรรมการ ” หมายความว่า คณะกรรมการสภาวิศวกร
“ เลขาธิการ ” หมายความว่า เลขาธิการสภาวิศวกร
“ พนักงานเจ้าหน้าที่ ” หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“ รัฐมนตรี ” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๒ สมาชิก


มาตรา ๑๑ สมาชิกสภาวิศวกรมีสามประเภท ดังนี้
( ๑ ) สมาชิกสามัญ
( ๒ ) สมาชิกวิสามัญ
( ๓ ) สมาชิกกิตติมศักดิ์

มาตรา ๑๒ สมาชิกสามัญต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
( ๑ ) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
( ๒ ) มีสัญชาติไทย
( ๓ ) มีความรู้ในวิชาชีพวิศวกรรมโดยได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรหรือ วุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่สภาวิศวกรรับรอง
( ๔ ) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
( ๕ ) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิศวกร
( ๖ ) ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
สมาชิกวิสามัญต้องเป็นผู้ที่ปฎิบัติงานเกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรมและมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรแต่งตั้ง

มาตรา ๑๓ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ มีดังต่อไปนี้
( ๑ ) แสดงความคิดเห็นในการประชุมใหญ่สภาวิศวกร
( ๒ ) ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่สภาวิศวกร
( ๓ ) แสดงความเห็นและซักถามเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาวิศวกรต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาและในกรณีที่สมาชิกร่วมกันตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป เสนอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องใดที่เกี่ยวกับกิจการของสภาวิศวกร คณะกรรมการต้องพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอทราบโดยมิชักช้า
( ๔ ) เลือก รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้งเป็นกรรมการ
( ๕ ) ชำระค่าจดทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
( ๖ ) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฎิบัติตนตามพระราชบัญญัตินี้
สมาชิกวิสามัญหรือสมาชิกกิตติมศักดิ์ให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกสามัญเว้นแต่สิทธิและหน้าที่ตาม (๒) และ (๔)

มาตรา ๑๔ สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ
( ๑ ) ตาย
( ๒ ) ลาออก
( ๓ ) คณะกรรมการมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพ เพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ สำหรับกรณีสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญแล้วแต่กรณี
( ๔ ) ที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรมีมติเพิกถอนการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
( ๕ ) ไม่ชำระค่าจดทะเบียนสมาชิกหรือค่าบำรุงโดยไม่มีเหตุอันควรตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
( ๖ ) สภาวิศวกรมีมติเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๖๔

มาตรา ๑๕ ให้มีการประชุมสมาชิกเป็นการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้ง การประชุมใหญ่คราวอื่นนอกจากนี้เรียกว่า การประชุมใหญ่วิสามัญ

มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่ตามที่จำเป็น
สมาชิกสามัญอาจขอให้ประชุมใหญ่วิสามัญได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร ในการนี้คณะกรรมการต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำร้องขอ

มาตรา ๑๗ ในการประชุมใหญ่สภาวิศวกร ถ้าสมาชิกสามัญมาประชุมไม่ครบจำนวนสองร้อยคนและการประชุมใหญ่นั้นได้เรียกตามคำร้องขอของสมาชิกก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่สมาชิกมิได้เป็นผู้ร้องขอให้เลื่อนการประชุมนั้นออกไป โดยให้นายกสภาวิศวกรเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งภายในสี่สิบห้าวัน

มาตรา ๑๘ ในการประชุมใหญ่สภาวิศวกร ให้นายกสภาวิศวกรเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่นายกสภาวิศวกรไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกสภา วิศวกรผู้ทำการแทนตามมาตรา ๓๔ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสภาวิศวกรและอุปนายกสภาวิศวกรไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้สมาชิกที่มาประชุมเลือกสมาชิกคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

มาตรา ๑๙ ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี กิจการอันพึงกระทำได้แก่
( ๑ ) ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปีของคณะกรรมการ
( ๒ ) พิจารณาและอนุมัติงบดุลประจำปีของสภาวิศวกร
( ๓ ) ตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี

มาตรา ๒๐ ให้มีผู้ตรวจคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่ที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรแต่งตั้งจากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก คุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากการดำรงตำแหน่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร ผู้ตรวจมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการ แล้วทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกร

มาตรา ๒๑ ในการตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรม ให้ผู้ตรวจมีอำนาจเข้าไปตรวจสถานที่ทำการงานต่างๆ ของสภาวิศวกรในระหว่างเวลาทำงานได้ และให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ หรือให้คำชี้แจงแก่ผู้ตรวจตามควรแก่กรณี

มาตรา ๒๒ กรรมการ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่สภาวิศวกร ลูกจ้าง และตัวแทนของสภาวิศวกรมีหน้าที่ส่งเอกสารหลักฐานต่างๆ ซึ่งตนเก็บรักษาหรืออยู่ในอำนาจของตนให้แก่ผู้ตรวจ และให้คำชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงานต่างๆ ในกิจการของสภาวิศวกร ทั้งนี้เมื่อผู้ตรวจร้องขอ

มาตรา ๒๓ ในกรณีที่พบว่าคณะกรรมการมิได้ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานประจำปีหรือดำเนินงานไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือขัดต่อวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกร ให้ผู้ตรวจแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกร หรือสมาชิกสามัญตามที่ตนเห็นสมควรเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

หมวด ๓ คณะกรรมการ


มาตรา ๒๔ ให้มีคณะกรรมการสภาวิศวกร ประกอบด้วย
( ๑ ) กรรมการซึ่งสมาชิกสามัญเลือกตั้งขึ้นจากสมาชิกสามัญ และมิได้ดำรงตำแหน่งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญา จำนวนสิบคน
( ๒ ) กรรมการซึ่งสมาชิกสามัญเลือกตั้งขึ้นจากสมาชิกสามัญ และดำรงตำแหน่งคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญา จำนวนห้าคน
( ๓ ) กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากสมาชิกสามัญโดยการเสนอชื่อของ รัฐมนตรี จำนวนห้าคน
ในการเลือกตั้งและแต่งตั้งกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงสมาชิกสามัญจากสาขาวิศวกรรมควบคุมต่างๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม

มาตรา ๒๕ เมื่อได้มีการแต่งตั้งกรรมการและทราบผลการเลือกตั้งกรรมการตามาตรา ๒๔ แล้ว ให้สภานายกพิเศษกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการภายในสามสิบวัน และให้ถือว่าวันประชุมดังกล่าวเป็นวันเริ่มวาระของการอยู่ในตำแหน่งกรรมการ

มาตรา ๒๖ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสภาวิศวกรอุปนายกสภาวิศวกรคนที่หนึ่ง และอุปนายกสภาวิศวกรคนที่สอง ตำแหน่งละหนึ่งคน
ให้นายกสภาวิศวกรเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งเลขาธิการ เหรัญญิก ตำแหน่งละหนึ่งคน และอาจเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งอื่นได้ตามความจำเป็นทั้งนี้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ให้นายกสภาวิศวกรมีอำนาจถอดถอนเลขาธิการ เหรัญญิก และตำแหน่งอื่นตามวรรคสองออกจากตำแหน่งได้ ทั้งนี้โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
นายกสภาวิศวกร อุปนายกสภาวิศวกรคนที่หนึ่ง และอุปนายกสภาวิศวกรคนที่สอง ให้ดำรงตำแหน่งตามวาระของกรรมการซึ่งได้รับการเลือกตั้ง
เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภาวิศวกรพ้นจากหน้าที่ ให้เลขาธิการ เหรัญญิก และผู้ดำรงตำแหน่งอื่นตามวรรคสองพ้นจากตำแหน่งด้วย

มาตรา ๒๗ กรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
( ๑ ) เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกรมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี หรือระดับวุฒิวิศวกร
( ๒ ) ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
( ๓ ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

มาตรา ๒๘ กรรมการให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการ ซึ่งได้รับเลือกตั้งจะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการใหม่

มาตรา ๒๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
( ๑ ) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔
( ๒ ) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๒๗
( ๓ ) ลาออก
( ๔ ) สภาวิศวกรมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกที่มาประชุม
( ๕ ) ตำแหน่งกรรมการซึ่งได้รับการเลือกตั้งว่างลงรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งทั้งหมดและวาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน ( ๖ ) รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๖๙

มาตรา ๓๐ เมื่อตำแหน่งกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลง ก่อนครบวาระให้คณะกรรมการเลือกสมาชิกผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๗ และมาตรา ๒๔ ( ๑ ) หรือ ( ๒ ) แล้วแต่กรณี เป็นกรรมการแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลงแต่ถ้าวาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน คณะกรรมการจะให้มีการเลือกกรรมการแทนหรือไม่ก็ได้
ในกรณีตำแหน่งกรรมการตามวรรคหนึ่งว่างลงรวมกันเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการซี่งได้รับเลือกตั้งทั้งหมดและวาระของกรรมการเหลืออยู่ตั้งแต่เก้าสิบวันขึ้นไปให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งกรรมการขึ้นแทนตำแหน่งกรรมการที่ว่าง
ให้ผู้ซึ่งได้รับเลือกหรือเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา ๓๑ เมื่อตำแหน่งกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา ๒๔ ( ๓ ) ว่างลงก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างภายในสามสิบวันแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง แต่ถ้าระยะเวลาของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน จะมีการแต่งตั้งแทนหรือไม่ก็ได้
ให้ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา ๓๒ การเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๒๔ ( ๑ ) และ ( ๒ ) การเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามมาตรา ๒๖ และการเลือกหรือการเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๓๐ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิศวกร

มาตรา ๓๓ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
( ๑ ) บริหารและดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับของ สภาวิศวกร
( ๒ ) สอดคล้องดูแลและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
( ๓ ) ออกระเบียบคณะกรรมการว่าด้วยการใด ๆ ตามที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรมอบหมาย
( ๔ ) กำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของสภาวิศวกร
( ๕ ) วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณตามมาตรา ๖๒

มาตรา ๓๔ นายกสภาวิศวกร อุปนายกสภาวิศวกรคนที่หนึ่ง อุปนายกสภาวิศวกรคนที่สอง เลขาธิการ และเหรัญญิก มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
( ๑ ) นายกสภาวิศวกรมีอำนาจหน้าที่
( ก ) เป็นผู้แทนสภาวิศวกรในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
( ข ) เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกร
( ค ) ดำเนินกิจการของสภาวิศวกรใ?้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ
( ๒ ) อุปนายกสภาวิศวกรคนที่หนึ่งเป็นผู้ช่วยนายกสภาวิศวกรในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกสภาวิศวกรตามที่นายกสภาวิศวกรมอบหมาย และเป็นผู้ทำการแทนนายกสภาวิศวกรเมื่อนายกสภาวิศวกรไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
( ๓ ) อุปนายกสภาวิศวกรคนที่สองเป็นผู้ช่วยนายกสภาวิศวกรในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายกสภาวิศวกรตามที่นายกสภาวิศวกรมอบหมาย และเป็นผู้ทำการแทนนายกสภาวิศวกรเมื่อนายกสภาวิศวกร และอุปนายกสภาวิศวกรที่หนึ่งไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
( ๔ ) เลขาธิการมีอำนาจหน้าที่
( ก ) ควบคุมบัญชาเจ้าหน้าที่สภาวิศวกรทุกระดับ
( ข ) เป็นเลขานุการในที่ประชุมคณะกรรมการและที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกร
( ค ) ดำเนินการตามที่นายกสภาวิศวกรมอบหมาย
( ๕ ) เหรัญญิกมีอำนาจหน้าที่ควบคุม ดูแล รับผิดชอบการบัญชี การเงิน และการงบประมาณของสภาวิศวกร
นายกสภาวิศวกรอาจมอบหมายให้อุปนายก กรรมการ และเลขาธิการ เหรัญญิก หรือเจ้าหน้าที่ของสภาวิศวกรกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนได้ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
หมวด ๔ การดำเนินการของคณะกรรมการ


มาตรา ๓๕ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ให้นายกสภาวิศวกรเป็นประธานในที่ประชุม ในกรณีที่นายกสภาวิศวกรไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้อุปนายกสภาวิศวกร ผู้ทำการแทนตามมาตรา ๓๔ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสภาวิศวกรและอุปนายกสภาวิศวกรไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มติของที่ประชุม ให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในกรณีให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๑๔ ( ๓ ) มติของที่ประชุม ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการที่มาประชุม

มาตรา ๓๖ สภานายกพิเศษจะเข้าร่วมการประชุม และชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังสภาวิศวกรในเรื่องใด ๆ ก็ได้

มาตรา ๓๗ ในการดำเนินงานของคณะกรรมการ ให้คณะกรรมการจัดทำแผนการดำเนินงานและงบประมาณประจำปีเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรเมื่อที่ประชุมมีมติเห็นชอบแล้วจึงดำเนินงานได้

ให้คณะกรรมการจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลงานของคณะกรรมการในปีที่ล่วงมา คำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย พร้อมด้วยงบดุลและบัญชีรายได้และรายจ่ายประจำปี ซึ่งผู้สอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชีรับรองเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทิน

มาตรา ๓๘ คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการได้
การประชุมของคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการ

มาตรา ๓๙ ให้มีสำนักงานสภาวิศวกรทำหน้าที่ธุรการต่างๆ ให้แก่คณะกรรมการและสภาวิศวกร

มาตรา ๔๐ ให้นายกสภาวิศวกรแต่งตั้งหัวหน้าสำนักงานสภาวิศวกรตามมติของคณะกรรมการจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
( ๑ ) มีสัญชาติไทย
( ๒ ) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
( ๓ ) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย บุคคลวิกลจริต หรือคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
( ๔ ) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
( ๕ ) คุณสมบัติอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด

มาตรา ๔๑ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง การกำหนดค่าจ้างและเงื่อนไขอื่นในการทำงานในหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสภาวิศวกรให้เป็นไปตามแบบสัญญาจ้างที่สภาวิศวกรกำหนด

มาตรา ๔๒ หัวหน้าสำนักงานสภาวิศวกรมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
( ๑ ) ควบคุมรับผิดชอบงานธุรการทั่วไปของสภาวิศวกร
( ๒ ) ดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก ทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และทะเบียนอื่น ๆ ของสภาวิศวกร
( ๓ ) ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสภาวิศวกร
( ๔ ) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือเลขาธิการมอบหมาย

หมวด ๕ ข้อบังคับสภาวิศวกร


มาตรา ๔๓ ร่างข้อบังคับสภาวิศวกรจะเสนอได้ก็แต่โดยคณะกรรมการหรือสมาชิกสามัญ
การเสนอร่างข้อบังคับสภาวิศวกรของสมาชิกสามัญจะกระทำได้เมื่อมีสมาชิกสามัญจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนรับรอง
ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สภาวิศวกรเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับสภาวิศวกรที่มีการเสนอตามความเหมาะสมแก่กรณี การพิจารณาร่างข้อบังคับสภาวิศวกรจะเสนอเป็นวาระจรไม่ได้ แต่ต้องกำหนดเป็นวาระในหนังสือนัดประชุมให้ชัดเจนและแนบร่างข้อบังคับสภาวิศวกรที่เสนอไปพร้อมกันด้วย

มาตรา ๔๔ เมื่อที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรมีมติให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับสภาวิศวกรด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญที่เข้าประชุม ให้นายกสภาวิศวกรเสนอร่างข้อบังคับสภาวิศวกรต่อสภานายกพิเศษโดยไม่ชักช้า สภานายกพิเศษอาจยับยั้งร่างข้อบังคับนั้นได้แต่ต้องแสดงเหตุผลโดยแจ้งชัด ในกรณีที่มิได้ยับยั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบังคับที่นายกสภาวิศวกรเสนอ ให้ถือว่าสภานายกพิเศษให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับนั้น
ถ้าสภานายกพิเศษยับยั้งร่างข้อบังคับใด ให้คณะกรรมการประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการยับยั้ง ในการประชุมครั้งหลังนี้ ถ้ามีเสียงยืนยันมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ให้ถือว่าร่างข้อบังคับนั้นได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษแล้ว
หมวด ๖ การควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม


มาตรา ๔๕ ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตในสาขานั้นจากสภาวิศวกร

มาตรา ๔๖ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละสาขามี ๔ ระดับ คือ
( ๑ ) วุฒิวิศวกร
( ๒ ) สามัญวิศวกร
( ๓ ) ภาคีวิศวกร
( ๔ ) ภาคีวิศวกรพิเศษ
หลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมแต่ละระดับ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร

มาตรา ๔๗ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้คำหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็น ผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ทั้งนี้ รวมถึงการใช้ จ้างวานหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวให้ตน เว้นแต่ผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขานั้น ๆ จากสภาวิศวกรหรือสถาบันที่สภาวิศวกรรับรอง หรือผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร

มาตรา ๔๘ การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร

มาตรา ๔๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องเป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญของสภาวิศวกรและถ้าขาดจากสมาชิกภาพเมื่อใดให้ใบอนุญาตของผู้นั้นสิ้นสุดลง
ผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลซึ่งมีทุนเป็นของคนต่างด้าวจำนวนเท่าใด นิติบุคคลนั้นอย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
( ๑ ) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร
( ๒ ) ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน กรรมการของบริษัท หรือสมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการของบริษัท หรือผู้มีอำนาจบริหารแต่ผู้เดียวของนิติบุคคลเป็นผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร

มาตรา ๕๑ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายหรือพบการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมของผู้ได้รับใบอนุญาต มีสิทธิกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตผู้นั้นโดยทำเรื่องยื่นต่อสภาวิศวกร
กรรมการหรือบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมว่าผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม โดยแจ้งเรื่องต่อสภาวิศวกร
สิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง หรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมดังกล่าวและรู้ตัวผู้ประพฤติผิด
การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นไว้แล้วนั้น ไม่เป็นเหตุให้ระงับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๕๒ เมื่อสภาวิศวกรได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษตาม

มาตรา ๕๑ ให้เลขาธิการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณโดยไม่ชักช้า

มาตรา ๕๓ ให้มีคณะกรรมการจรรยาบรรณ ประกอบด้วยประธานกรรมการจรรยาบรรณคนหนึ่ง และกรรมการจรรยาบรรณตามจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดแต่ไม่น้อยกว่าสามคน ให้คณะกรรมการแต่งตั้งกรรมการจรรยาบรรณตามมติของที่ประชุมใหญ่สภาวิศวกรจากสมาชิกซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
( ๑ ) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี
( ๒ ) ไม่เคยถูกลงโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณ

มาตรา ๕๔ กรรมการจรรยาบรรณให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี และอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ ให้กรรมการจรรยาบรรณที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการจรรยาบรรณใหม่

มาตรา ๕๕ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการจรรยาบรรณพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
( ๑ ) ลาออก
( ๒ ) สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๔
( ๓ ) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๕๓ วรรคสอง
( ๔ ) สภาวิศวกรมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกที่ประชุม

มาตรา ๕๖ เมื่อตำแหน่งกรรมการจรรยาบรรณว่างลงก่อนครบวาระให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง เว้นแต่วาระของกรรมการจรรยาบรรณเหลืออยู่ไม่ถึงเก้าสิบวัน คณะกรรมการจะดำเนินการแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือไม่ก็ได้
ให้กรรมการจรรยาบรรณซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา ๕๗ คณะกรรมการจรรยาบรรณมีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่มีการกล่าวหาว่าผู้ได้รับใบอนุญาตประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
วิธีพิจารณาและวินิจฉัยของคณะกรรมการจรรยาบรรณ ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการ

มาตรา ๕๘ คณะกรรมการจรรยาบรรณจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนคณะกรรมการจรรยาบรรณได้
การปฏิบัติการของคณะอนุกรรมาการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการ

มาตรา ๕๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจรรยาบรรณ และของคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการจรรยาบรรณแต่งตั้งให้กรรมการจรรยาบรรณ และอนุกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา แต่ถ้าเป็นการมีคำสั่งต่อบุคคลซึ่งมิใช่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษหรือผู้ซึ่งสภานายกพิเศษมอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้กรรมการจรรยาบรรณหรืออนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๖๐ ให้ประธานกรรมการจรรยาบรรณมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเริ่มพิจารณา ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษมีสิทธิทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานใด ๆ ส่งให้คณะกรรมการจรรยาบรรณหรือคณะอนุกรรมการซึ่งคณะกรรมการจรรยาบรรณแต่งตั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากประธานกรรมการจรรยาบรรณ หรือภายในเวลาที่คณะกรรมการจรรยาบรรณกำหนด

มาตรา ๖๑ คณะกรรมการจรรยาบรรณ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
( ๑ ) ยกข้อกล่าวหา
( ๒ ) ตักเตือน
( ๓ ) ภาคทัณฑ์
( ๔ ) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
( ๕ ) เพิกถอนใบอนุญาต

มาตรา ๖๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการจรรยาบรรณวินิจฉัยชี้ขาด
ตามมาตรา ๖๑ ( ๒ ) ( ๓ ) ( ๔ ) หรือ ( ๕ ) อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย การอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิศวกร
คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้ทำเป็นคำสั่งสภาวิศวกรพร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยชี้ขาดและให้ถือเป็นที่สุด

มาตรา ๖๓ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมนับแต่วันที่ทราบคำสั่งสภาวิศวกรที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตนั้น

มาตรา ๖๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนตามมาตรา ๖๓ ให้สภาวิศวกรมีมติเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นนับแต่วันที่ศาลพิพากษาถึงที่สุด

มาตรา ๖๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต จะยื่นขอใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ในกรณีที่ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล ให้มีผลเป็นการเพิกถอนใบอนุญาตของผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน กรรมการของบริษัท ผู้บริหารของนิติบุคคล และพนักงานหรือลูกจ้างของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมในการกระทำอันเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือนิติบุคคลนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต และห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน กรรมการของบริษัท ผู้บริหารของนิติบุคคล ซึ่งได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

หมวด ๗ การกำกับดูแล


มาตรา ๖๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
( ๑ ) กำกับดูแลการดำเนินงานของสภาวิศวกรและการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
( ๒ ) สั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวิศวกรและการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
( ๓ ) สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสภาวิศวกรและจะให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการก็ได้
( ๔ ) สั่งเป็นหนังสือให้สภาวิศวกรระงับหรือแก้ไขการกระทำใด ๆ ที่ปรากฏว่าขัดต่อวัตถุประสงค์ของสภาวิศวกร กฎหมาย หรือข้อบังคับสภาวิศวกร

มาตรา ๖๗ เพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งของรัฐมนตรีตามมาตรา ๖๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา และมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบเอกสารหรือหลักฐานในสำนักงานของสภาวิศวกร หรือในสถานที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมได้ในระหว่างเวลาทำการ หรือให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องชี้แจงแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ร้องขอ ทั้งนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร

มาตรา ๖๘ ในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๖๙ เมื่อปรากฏว่าสภาวิศวกรไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐมนตรีตามมาตรา ๖๖ หรือ มีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการ นายกสภาวิศวกร หรือกรรมการคนหนึ่งคนใดกระทำผิดวัตถุประสงค์ ของสภาวิศวกร หรือกระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงแก่สภาวิศวกร ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการ นายกสภาวิศวกร หรือกรรมการคนนั้นพ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีรัฐมนตรีจะมีคำสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งสมาชิกสามัญจำนวนห้าคน เป็นคณะกรรมการสอบสวน คณะกรรมการสอบสวนต้องรีบทำการสอบสวนให้แล้วเสร็จโดยเร็วแล้วเสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาสั่งการคำสั่งของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

มาตรา ๗๐ ในกรณีที่รัฐมนตรีมีคำสั่งตามมาตรา ๖๙ ให้กรรมการทั้งคณะของสภาวิศวกรพ้นจากตำแหน่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลจากสมาชิกสามัญของสภาวิศวกร เท่าจำนวนกรรมการที่จะมีได้ตามมาตรา ๒๔ เป็นกรรมการชั่วคราวแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งในวันเดียวกันกับวันที่รัฐมนตรีมีคำสั่งให้กรรมการพ้นจากตำแหน่ง
ให้กรรมการชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการเพียงเท่าที่จำเป็นและดำเนินการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการชั่วคราว เพื่อให้มีการเลือกตั้งและแต่งตั้งกรรมการใหม่ตามมาตรา ๒๔
เมื่อกรรมการใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว ให้กรรมการชั่วคราวซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง

หมวด ๘ บทกำหนดโทษ


มาตรา ๗๑ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๖๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๓ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณหรืออนุกรรมการตามมาตรา ๕๙ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๖๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗๔ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้หุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วน กรรมการของบริษัท ผู้แทนของนิติบุคคล หรือผู้ซึ่งมีส่วนในการกระทำความผิดดังกล่าว มีความผิดในฐานะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด ผู้ใช้ให้กระทำความผิด หรือผู้สนับสนุนกระทำความผิด แล้วแต่กรณี ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในการกระทำความผิดนั้น และสำหรับนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับไม่เกินสิบเท่าของอัตราโทษปรับสำหรับความผิดนั้นด้วย

บทเฉพาะกาล


มาตรา ๗๕ ให้คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีคณะกรรมการตามมาตรา ๒๔ และให้มีอำนาจออกข้อบังคับสภาวิศวกรตามมาตรา ๘ ( ๖ ) เท่าที่จำเป็น เพื่อใช้เป็นการชั่วคราว ข้อบังคับดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับนั้น ทั้งนี้ โดยไม่ให้นำมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔ มาใช้บังคับ
ให้สำนักงาน ก . ว . ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานสภาวิศวกรตามมาตรา ๓๙ และให้นายทะเบียน ก . ว . ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสภาวิศวกร ตามมาตรา ๔๒ เป็นการชั่วคราวไปจนกว่าสำนักงานสภาวิศวกรจะมีบุคลากรปฏิบัติหน้าที่ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันเริ่มวาระของการอยู่ในตำแหน่งคณะกรรมการตามมาตรา ๒๕
การเลือกตั้งและแต่งตั้งกรรมการตามมาตรา ๒๔ ให้กระทำให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๗๖ ให้ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทภาคีวิศวกร สามัญวิศวกร และวุฒิวิศวกร ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นสมาชิกสามัญของสภาวิศวกรตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ประเภทใบอนุญาตพิเศษตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ อยู่แล้วในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นสมาชิกวิสามัญของสภาวิศวกรตามพระราชบัญญัตินี้
เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามใบอนุญาตหรือพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ แล้วแต่กำหนดระยะเวลาใดจะยาวกว่า ให้สมาชิกภาพของสมาชิกตามวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นอันสิ้นสุดลง เว้นแต่จะสมัครและได้เป็นสมาชิกของสภาวิศวกรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าปริญญา หรือประกาศนียบัตรจากหลักสูตรการศึกษาและสถาบันการศึกษาที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ ได้รับรองแล้วเป็นปริญญา หรือประกาศนียบัตรที่สภาวิศวกรให้การรับรองตามมาตรา ๘ ( ๓ )

มาตรา ๗๗ ให้ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทวุฒิวิศวกร สามัญวิศวกร ภาคีวิศวกร หรือใบอนุญาตพิเศษตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ และใบอนุญาตนั้นยังคงใช้ได้ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมระดับวุฒิวิศวกร สามัญวิศวกร ภาคีวิศวกร หรือภาคีวิศวกรพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี
เพื่อประโยชน์ตามมาตรา ๒๗ ( ๑ ) ให้ถือว่ากำหนดเวลาที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทสามัญวิศวกร ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ เป็นกำหนดเวลา ที่ได้รับใบอนุญาตระดับสามัญวิศวกรตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา ๗๘ คำขอรับใบอนุญาต ซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ โดยให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้พิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามความในวรรคก่อนเป็นสมาชิกสามัญ หรือสมาชิกวิสามัญของสภาวิศวกรตามความในมาตรา ๗๖ โดยอนุโลม

มาตรา ๗๙ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา ๘๐ ให้ถือว่าการกระทำผิดมรรยาทหรือข้อกำหนดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและยังไม่มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ . ศ . ๒๕๐๕ เป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ และการดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีการดำเนินการกับผู้กระทำผิดมรรยาท หรือข้อกำหนดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ และการดำเนินการต่อไปให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน หลักภัย
นายกรัฐมนตรี

11/15/2551

6 ขั้นตอนควรรู้..ก่อนการว่าจ้าง..และการสร้างบ้าน(ขั้นตอนที่1)

มาแล้วจ้า มาแล้วจ้า แม่ค้าขายมะพร้าวอ่อน..อากาศร้อนๆ น้ำมะพร้าวอ่อน...กินแล้วชื่นใจ ชื่นใจๆๆ

หวัดดีครับท่านผู้ชม กระผมยอดชายนายทิดฉุยมาเข้าเวรรอ..เอ๊ยรับใช้ท่านผู้อ่านอีกแล้ว คราวนี้กระผมมีคาถามหาอุต เอ๊ยไม่ใช่..แง่คิดสำหรับท่านที่กำลังจะว่าจ้างให้ใครซักคนมาสร้างบ้านให้กับท่านนะคร๊าบบบบ

วันนี้กระพ้มมี บันได 6 ขั้น เอ๊ย...ขั้นตอนในการสร้างบ้าน 6 ขั้นตอน ให้ท่านๆทั้งหลายลองพิจารณาดู มีแนวคิดดังนี้ ขอรับ

แต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหา มีพรรคพวกเพื่อนพ้องท่านสะกิดผมยิกๆ

“นี้แน่ะ...ทิดฉุย จะสร้างบ้านทั้งทีทำไมมันยุ่งยากจังฟะ ต้องระวังอย่างโน้น ต้องดูอย่างนี้ ม่ายเอาเว้ย ไม่มีเวลา เรียกผู้รับเหมามาสี่ห้าเจ้า ไปดูงาน ใครให้ราคาฉันต่ำสุด วัสดุดีๆ ฉันเลือกเจ้านั้นหล่ะ...”



ตอนเลือกผู้รับเหมาไม่ควรที่จะไปดูบ้านที่สร้างเสร็จแล้ว แต่เพียงอย่างเดียว

นี่แหละครับคนเรา เอาง่ายๆ เข้าว่า แล้วจะเสียสุรา เอ๊ย..ไม่ใช่เสียอุรา หรือ เสียใจภายหลังน่ะครับ

ผมน่าจะปล่อยให้เพื่อนกระพ้มคนนี้ไปลองผิดลองถูกกับเงินที่เขาหามาทั้งชีวิต ซะให้เข็ด เนี่ยถ้าไม่ติดว่าเขาให้ผมยืมเงินง่ายๆๆๆๆ แฮะๆ ก็คงปล่อยไปแว๊ววว

ก็เลยถือโอกาสนี้ชี้แจงแถลงไขไปพร้อมๆ กับผู้อ่านของกระพ้มเลย แต่ท่านผู้ชมครับ ไม่ต้องกลัวว่าผมจะตามไปยืมเงินนะครับ แฮะๆไม่ต้องจับกระเป๋าตังค์แน่นหรอกครับ ไม่ยืมแน่นอน



ควรที่จะดูโครงสร้างบ้านด้วย

เสาบ้านเหมือนกัน แต่คุณภาพออกมาไม่เท่ากัน คิดว่าเป็นเพราะอะไรเล่าครับ
เอาละครับที่นี้เรามาว่ากันแบบเป็นเรื่องเป็นราวเสียที่ สมมุติว่าท่านมีแบบก่อสร้างอยู่ในมือแล้ว

ขั้นตอนที่ 1 สรรหาผู้รับเหมา

ผมมีข้อแนะนำท่านผู้ชมของกระผมดังนี้ครับ หาผู้รับเหมาสัก 7-8 ราย ทีนี้ที่มาของผู้รับเหมาจะมาจากไหนบ้าง

ท่านเป็นผู้หาเอง

เพื่อนแนะนำ

สถาปนิกแนะนำให้

ที่ปรึกษาเรื่องการสร้างบ้านแนะนำมาให้

เปิดประมูลงานใน selectcon เพื่อให้ผู้รับเหมาเสนอตัวเข้ามา

นอกจากท่านจะเป็นผู้จัดหาเองแล้ว ในวิธีการอื่นท่านมีโอกาสที่จะถูกกินหัวคิวได้ เนี่ยผมไม่ได้ว่าใครไม่ดีนะ เพราะที่ดีๆเขาก็มีเยอะ แต่ไม่เสียหายใช่ไหมถ้าจะคิดป้องกัน โธ่ก็เงินนี่ครับ ใครๆก็อยากได้

ผมมีวิธีแก้ปัญหาเรื่องกินหัวคิวอย่างนี้นะครับ ในบรรดาผู้รับเหมาที่รวบรวมมา 7-8 รายนั้น ไม่ว่าแหล่งที่มา จะมาจากไหน ใน 7-8 รายนั้นควรที่จะมีส่วนที่ท่านหามาเองด้วย เอา 7-8 รายที่ว่า มาร่อนตระแกรงเสียทีหนึ่ง
วิธีการร่อนตระแกรงก็คือ การตรวจสอบประวัติและผลงานผู้รับเหมากลุ่มนี้ ถามว่าต้องตรวจอะไรบ้าง หลักในการตรวจสอบมีอย่างนี้ครับ

ดูงานฝีมืองานก่อสร้าง ที่หน่วยงานก่อสร้างของผู้รับเหมา ดูการทำโครงสร้าง ดูงานก่อฉาบ ดูเหลี่ยม ดูมุม ดูผิวของงานปูน ดูงานตกแต่งเช่นงานปูกระเบื้อง งานไม้ตกแต่ง ไม่ต้องดูว่าหลังใหญ่หรือหลังเล็กนะครับ ให้ดูที่ฝีมือ

ดูว่างานก่อสร้างคืบหน้าไหม โดยวันที่เริ่มต้นจากใบอนุญาตก่อสร้าง เปรียบเทียบกับเนื้องานที่ทำได้ ถ้าจะให้ชัวร์วันที่เริ่มต้นงานก่อสร้าง อาจจะถามกับเจ้าของบ้านรายนั้นโดยตรงเลยก็ได้

ดูวัสดุที่ผู้รับเหมารายนั้นนำมากองที่หน่วยงาน นั่นแหละครับของจริงเลย ของคุณภาพหรือไม่ วัสดุบางตัวผมว่าท่านน่าจะดูออก แต่บางตัวยังสงสัยอาจจะใช้บริการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรีก็ได้นะครับ ทีมงานเขายินดีรับใช้

สอบถามคนงานสักนิดว่า จ่ายค่าแรงตรงตามกำหนดไหม ถ้าจะให้เจ๋ง สอบถามร้านค้าที่ผู้รับเหมารายนั้นซื้อวัสดุ จะได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น ว่าผู้รับเหมารายนั้นมีปัญหาเรื่องการเงินหรือไม่

ดูความสะอาดสะอ้านที่หน่วยงานสักหน่อย ถ้าสกปรกมากๆ อย่าไปใช้บริการ เพราะนั่นเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจอย่างหนึ่งของผู้รับเหมา

หลังจากร่อนตระแกรงแบบนี้แล้วท่านควรคัดเลือกผู้รับเหมาสัก 3 ราย ที่ท่านคิดว่าเข้าตากรรมการ และหนึ่งในสามรายนั้นควรจะมีผู้รับเหมารายที่ท่านหามาเองด้วย เพื่อให้มาทำการเสนอ ราคาแข่งกัน ส่วนเรื่องกินหัวคิวต้องใช้ขั้นตอนอื่นประกอบด้วยครับ จึงจะได้แผล เอ๊ยได้ผล ลองตามมาครับ

ขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบราคา

หลังจากที่ร่อนตระแกรงผู้รับเหมาแล้ว เหลือผู้รับเหมาสัก 3 ราย ให้มารับแบบก่อสร้างจากท่านไปเสนอราคา คิดราคาแบบบีโอคิว ในขั้นตอนนี้จะดีมากๆทีเดียวถ้าแบบก่อสร้างในมือท่านเขียนไว้ละเอียดเนียน รูปตัดครบถ้วนไม่ตัดหลบ แบบขยายและรายการประกอบแบบที่จำเป็นที่จะไม่เปิดช่องให้ผู้รับเหมาเลือกใช้วิธีการที่สามารถต้นทุนก่อสร้างได้

ถ้าจะให้ดีนะ ผมว่าท่านควรจะจัดทำราคากลางด้วย โดยจ้างมืออาชีพมาช่วยถอดบีโอคิวให้(บีโอคิว คือ บัญชีแสดงปริมาณวัสดุ และ ค่าแรง) ซึ่งประโยชน์ของ บีโอคิวตัวที่เราทำนี้ จะช่วยบอกเราได้ว่า ราคาค่าก่อสร้างที่แท้จริงควรจะเป็นเท่าไร และเพื่อประโยชน์ในการต่อรองภายหลัง

เมื่อผู้รับเหมาทั้งสามรายส่งราคาแบบบีโอคิวแล้ว ให้ท่านสังเกตด้วยว่า บีโอคิวที่เขาเสนอมานั้น เสนอมาครบถ้วนหรือไม่ อาจมีผู้รับเหมาบางรายที่เสนอราคามาไม่ครบ ทำให้ตัวเลขผิดไปจากที่ควรจะเป็น

จากนั้นให้ท่านทำการเปรียบเทียบราคาทั้งสามราย และ เปรียบเทียบกับราคากลางที่ตั้งไว้

ตรงนี้ถ้าท่านสังเกตดีๆ ท่านจะเห็นความแตกต่างกันในบางจุด

ขั้นตอนที่ 3 การประมูลราคา

เพื่อให้ท่านว่าจ้างสร้างบ้าน ในราคาที่ท่านได้ประโยชน์มากที่สุด ท่านควรให้ผู้รับเหมาที่เสนอราคานั้น เข้ามาทำการประมูลราคาในเว็บไซท์แห่งนี้ (ท่านอาจจะคิดว่าดูแค่บีโอคิว และ เลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุดที่พอแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้ว หากท่านใช้วิธีการประมูลแบบออนไลน์ ท่านจะได้ราคาที่ต่ำกว่าที่เสนอไว้ในบีโอคิว ทั้งยังจะเป็นการลดทอนส่วนเกินที่ยังมีอยู่ในบีโอคิวออกไป แต่ก็ต้องระวังๆไม่ให้ราคาต่ำมากเกินไป จนถึงจุดที่ทำไม่ได้ ) คลิกดูการประมูลออนไลน์ที่

http://www.selectcon.com/bid/bid_11.asp

หรือหากยังมีข้อสงสัย ท่านสามารถใช้บริการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้ ฟรี

ฟังก์ชั่นควบคุมการประมูล ของเจ้าของบ้าน



ขั้นตอนที่ 4 การต่อรองเงื่อนไขของสัญญา

เมื่อสรุปราคาได้ ก็มาถึงขั้นตอนที่จะต้องทำการต่อรองเงื่อนไขของสัญญา ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะขอพูดถึงบทสรุปที่ควรจะเป็นดังนี้

จะต้องมีมาตรการป้องกันงานด้อยคุณภาพ

จะต้องมีมาตรการป้องกันงานก่อสร้างล่าช้า

จะต้องมีมาตรการป้องกันปัญหาการทิ้งงาน

การแบ่งงวดงาน และ การจ่ายเงินที่เป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

ขั้นตอนที่ 5 เซ็นต์สัญญาว่าจ้าง

หลังจากตรวจสอบสัญญาว่าจ้างถูกต้องครบถ้วนแล้ว ก็เซ็นต์สัญญาว่าจ้าง ซึ่งในขั้นตอนนี้ถือเป็นการตกลงกันในรูปเอกสารสัญญา ว่าต่างฝ่ายต่างจะปฏิบัติตามสัญญา

ขั้นตอนที่ 6 การตรวจสอบคุณภาพงานในระหว่างทำการก่อสร้าง

ในระหว่างการก่อสร้าง เจ้าของบ้านควรจะมีตัวแทนที่มีความรู้ความเข้าใจในงานสร้างบ้าน ไปตรวจสอบคุณภาพงานในระหว่างการสร้างบ้าน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับมอบบ้านที่มีคุณภาพสมกับราคาค่าจ้างที่ท่านจ่ายไป

บทสรุป เรื่องการว่าจ้าง

ตอนต้นของบทความ ผมได้พูดถึงเรื่องการกินหัวคิวเอาไว้ ให้สังเกตว่า วิธีการดังกล่าวป้องกันการกินหัวคิวได้ ไม่ว่าใครจะแนะนำเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนึ่งในผู้เสนอราคาคือผู้รับเหมาที่ท่านหามา จะเป็นผู้เปิดราคาที่แท้จริง และในระหว่างการประมูลราคาแบบออนไลน์ ผู้รับเหมาที่เสนอราคาก็คงต้องแข่งขันกันเต็มที่ ใครต้องจ่ายค่าหัวคิวราคาที่เสนอ มาคงต้องแพงกว่าเจ้าอื่นแน่นอน

11/12/2551

ระบบป้องกันไฟไหม้

กฎหมายกำหนดไว้ว่าอาคารที่เป็นอาคารสาธารณะ,อาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงต้องมีข้อกำหนดสำหรับการป้องกันอัคคีภัย ที่หลีกเลี่ยงมิได้เด็ดขาดแต่ใน อาคารพักอาศัยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น คอนโดมิเนียมอพาร์ทเมนท์ ก็จำเป็นต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัยตามสมควรไว้ด้วยทั้งนี้เพื่อประโยชน์ และความปลอดภัยแก่ชีวิต และทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัย

การป้องกันอัคคีภัยสามารถกระทำได้ 2 ลักษณะคือ

1. การป้องกันอัคคีภัยวิธี Passive
- เริ่มจากการจัดวางผังอาคารให้ปลอดภัยต่ออัคคีภัย คือการวางผังอาคารให้สามารถป้องกันอัคคีภัยจากการเกิดเหตุสุดวิสัยได้ มีวิธีการได้แก่ เว้นระยะห่างจากเขตที่ดิน เพื่อกันการลามของไฟตามกฎหมาย การเตรียมพื้นที่รอบอาคาร สำหรับเข้าไปดับเพลิง ได้เป็นต้น
- การออกแบบอาคาร คือการออกแบบให้ตัวอาคารมีความสามารถในการทนไฟ หรืออย่างน้อยให้มีเวลาพอสำหรับหนีไฟได้ นอกเหนือจากนั้น ต้องมีการออกแบบที่ทำให้การเข้าดับเพลิงทำได้ง่าย และมีการอพยพคนออกจากอาคารได้สะดวก มีทางหนีไฟที่ดีมีประสิทธิภาพ

2. การป้องกันอัคคีภัยวิธี Active คือการป้องกันโดยใช้ระบบเตือนภัย,การควบคุมควันไฟ,ระบายควันไฟและระบบดับเพลิงที่ดี
- ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเตือนภัยเป็นระบบ ที่บอกให้คนในอาคารทราบว่า มีเหตุฉุกเฉิน จะได้มีเวลาสำหรับการเตรียมตัวหนีไฟ หรือดับไฟได้มีอุปกรณ์ในการเตือนภัย 2 แบบ คือ อุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ (Fire Detector) อันได้แก่อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อีกแบบหนึ่งคืออุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ เป็นอุปกรณ์ที่ให้ ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ ทำการแจ้งเตือนมีทั้งแบบมือดึงและผลัก
- ระบบดับเพลิงด้วยน้ำคือระบบที่มีการเก็บกักน้ำสำรอง ที่มีแรงดันพอสมควร และเมื่อมีเหตุเพลิงไหม้จะสามารถใช้ระบบดับเพลิง ในการดับไฟได้ระบบนี้จะประกอบไปด้วยถึงน้ำสำรองดับเพลิง ซึ่งต้องมีปริมาณสำหรับใช้ดับเพลิงได้1- 2 ชม.และประกอบด้วย ระบบส่งน้ำดับเพลิงได้แก่ เครื่องสูบระบบท่อ แนวตั้งแนวนอน, หัวรับน้ำดับเพลิง, สายส่งน้ำดับเพลิง, หัวกระจายน้ำดับเพลิง นอกจากนี้ยังมีระบบดับเพลิงด้วยน้ำแบบอัตโนมัติ โดยที่เครื่องที่อยู่บน เพดานห้องจะทำงาน เมื่อมีปริมาณความร้อนที่สูงขึ้น จนทำให้ส่วนที่เป็นกระเปาะบรรจุปรอทแตกออก แล้วน้ำดับเพลิงที่ต่อท่อไว้ ก็จะกระจายลงมาดับไฟ
- เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก ข้างในบรรจุสารเคมีสำหรับดับเพลิงแบบต่าง ๆ ในกรณีที่เพลิงมีขนาดเล็ก ก็สามารถใช้เครื่องดับเพลิงขนาดเล็กหยุดยั้งการลุกลามของไฟได้
- ลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงสำหรับอาคารสูง กฎหมายจะกำหนดให้มีลิฟต์สำหรับพนักงานดับเพลิงทำงานในกรณีไฟไหม้ โดยแยกจากลิฟต์ใช้งานปกติทั่วไป ซึ่งจะทำให้การผจญเพลิง และการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ระบบควบคุมควันไฟ การสำลักควันไฟเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตในเหตุไฟไหม้ อาคารจึงต้องมีระบบ ที่จะทำให้มีการชะลอ การแพร่ ของควันไฟ โดยมากจะใช้การอัดอากาศลงไปในจุดที่เป็นทางหนีไฟ, โถงบันได และโถงลิฟต์ โดยไม่ให้ควันไฟลามเข้าไป ในส่วนดังกล่าว เพิ่มระยะเวลาการหนีออกจากอาคาร และมีการดูดควันออกจากตัวอาคารด้วย
อุปกรณ์เริ่มสัญญาณแบบอัตโนมัติ (Automatic Initiation Devices) มีหลายชนิดดังนี้

1. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) แบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้

1.1 อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดไอออนไนเซชั่น (Ionization Smoke Detector) อุปกรณ์ชนิดนี้ เหมาะสำหรับใช้ตรวจจับสัญญาณควัน ในระยะเริ่มต้นที่มีอนุภาคของควันเล็กมาก Ionization Detector ทำงานโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางไฟฟ้า โดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี ปริมาณน้อยมากซึ่งอยู่ใน Chamber ซึ่งจะทำปฎิกิริยากับอากาศที่อยู่ระหว่างขั้วบวกและลบ ทำให้ความนำไฟฟ้า (Conductivity) เพิ่มขึ้นมีผลให้กระแสสามารถไหลผ่านได้โดยสะดวก เมื่อมี อนุภาคของควันเข้ามาใน Sensing Chamber นี้ อนุภาคของควันจะไปรวมตัวกับ อิออน จะมี ผลทำให้การไหลของกระแสลดลงด้วย ซึ่งทำให้ตัว ตรวจจับควันแจ้งสถานะ Alarm ทันที

1.2 อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดโฟโต้อิเลคตริก (Photoelectric Smoke Detector) เหมาะสำหรับ ใช้ตรวจจับสัญญาณควัน ในระยะที่มีอนุภาคของควันที่ใหญ่ขึ้น Photoelectric Smoke Detector ทำงานโดยใช้หลักการสะท้อนของแสง เมื่อมีควันเข้ามาใน ตัวตรวจจับควันจะไปกระทบกับแสงที่ ออกมาจาก Photoemiter ซึ่งไม่ได้ส่องตรงไปยังอุปกรณ์รับแสงPhoto receptor แต่แสงดังกล่าว บางส่วนจะสะท้อนอนุภาคควันและหักเหเข้าไปที่Photo receptor ทำให้วงจรตรวจจับของตัวตรวจ จับควันส่งสัญญาณแจ้ง Alarm

2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน เป็นอุปกรณ์แจ้งอัคคีภัยอัตโนมัติรุ่นแรกๆ มีหลายชนิด ซึ่งนับได้ว่าเป็น อุปกรณ์ที่ราคาถูกที่สุดและ มีสัญญาณหลอก (Fault Alarm) น้อยที่สุดในปัจจุบัน อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ที่นิยมใช้กันมีดังต่อไปนี้

2.1 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate-of-Rise Heat Detector) อุปกรณ์ชนิดนี้จะทำงาน เมื่อมีอัตราการเพิ่มของอุณหภูมิ เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ 10 องศา เซลเซียส ใน 1 นาที ส่วนลักษณะการทำงานอากาศ ในส่วนด้านบน ของส่วนรับความร้อนเมื่อถูก ความร้อน จะขยายตัวอย่างรวดเร็วมากจนอากาศที่ขยายไม่สามารถเล็ดลอดออกมาในช่องระบาย ได้ ทำให้เกิดความดันสูงมากขึ้นและไปดันแผ่นไดอะแฟรมให้ดันขาคอนแทคแตะกัน ทำให้อุปกรณ์ ตรวจจับความร้อน นี้ส่งสัญญาณ ไปยังตู้ควบคุม

2.2 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจับอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature Heat Detector)

อุปกรณ์ชนิดนี้จะทำงาน เมื่ออุณหภูมิของ Sensors สูงถึงจุดที่กำหนดไว้ซึ่งมีตั้งแต่ 60 องศาเซล เซียสไปจนถึง 150 องศาเซลเซียส การทำงานอาศัยหลักการของโลหะสองชนิด เมื่อถูกความร้อน แล้วมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวแตกต่างกัน เมื่อนำโลหะทั้งสองมาแนบติดกัน (Bimetal) และให้ ความร้อนจะเกิดการขยายตัวที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดบิดโค้งงอไปอีกด้านหนึ่ง เมื่ออุณหภูมิลดลง ก็จะคืนสู่สภาพเดิม
2.3 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดรวม (Combination Heat Detector) อุปกรณ์ชนิดนี้รวมเอา คุณสมบัติของ Rate of Rise Heat และ Fixed Temp เข้ามาอยู่ในตัวเดียวกันเพื่อตรวจจับความ ร้อนที่เกิดได้ทั้งสองลักษณะ

3. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector)

โดยปกติจะนำไปใช้ในบริเวณพื้นที่อันตรายและมีความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้สูง (Heat Area) เช่น คลังจ่ายนํ้ามัน, โรงงาน อุตสาหกรรม, บริเวณเก็บวัสดุที่เมื่อติดไฟจะเกิดควันไม่มาก หรือบริเวณที่ง่ายต่อการ ระเบิดหรือง่ายต่อการลุกลาม อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ จะดักจับความถี่คลื่นแสงในย่านอุลตร้าไวโอเล็ท ซึ่ง มีความยาวคลื่นอยูใ่นช่วง 0.18-0.36 ไมครอนที่แผ่ออกมาจาก เปลวไฟเท่านั้น แสงสว่างที่เกิดจากหลอดไฟและ แสงอินฟราเรดจะไม่มีผลทำให้เกิด Fault Alarm ได้ การพิจารณาเลือกติดตั้ง อุปกรณ์ตรวจจับ ในบริเวณต่างๆ เราจะคำนึงเรื่องความปลอดภัยของชีวิต, ความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ในบริเวณต่างๆ และลักษณะของเพลิงที่จะเกิด เพื่อที่จะติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่ เหมาะสมสถานที่ และไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินไป

คนมอ MV สาวส่า

ระบบปรับอากาศ (การติดตั้งพัดลมดูดอากาศบนฝ้าเพดาน)

ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System) คือ ระบบที่ทำหน้าที่ปรับสภาพของอากาศให้เหมาะกับสภาวะที่ผู้ใช้ต้องการ อาจจะเป็นการปรับอากาศเพื่อการเก็บรักษาอาหาร หรือสิ่งของ และรวมถึงการปรับอากาศเพื่อการอยู่อาศัยในอาคารด้วย โดยอาจจะเป็นการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ และยังต้องมีการควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเร็วลม กลิ่นและสิ่งเจือปนในอากาศด้วย

การติดตั้งพัดลมดูดอากาศบนฝ้าเพดาน

บ้านที่มีระบบปรับอากาศทั่วไปจะมีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ เพื่อระบายอากาศ เสีย และนำเอาอากาศบริสุทธิ์ (FRESH AIR) เข้ามาหมุนเวียนภายในห้อง ซึ่งพัดลม ดังกล่าวอาจติดบริเวณผนังหรือบนหน้าต่างที่เป็นกระจก ซึ่งทำให้ไม่สวยงาม จึงนิยมระบาย ขึ้นไปในช่องว่างของฝ้าเพดาน ซึ่งถ้าจำนวนพัดลมมีมากและเป่าขึ้นเพดานพร้อมๆ กัน อาจ ทำให้อากาศระบายออกไม่ทัน วิธีแก้ไขก็คือ เพิ่มเกล็ดระบายอากาศบริเวณฝ้าเพดานส่วนภายนอกห้อง เพื่อให้ อากาศใต้ฝ้าระบายออกได้ทัน

- ชนิดของระบบเครื่องฟอกอากาศ
เครื่องฟอกอากาศในบ้าน มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1. ระบบแผ่นกรองอากาศ จะทำงานโดยการกรอง ฝุ่นละอองต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาให้ติดอยู่บนแผ่นกรอง ระบบ นี้จะมีราคาถูก แต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแผ่น กรองในระยะยาว คือ ต้องเปลี่ยนทุก 4-6 เดือน
2. ระบบไฟฟ้าสถิต เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นมา อีกขั้นหนึ่ง คือ ใช้แผ่นกรองระบบไฟฟ้าสถิต โดยการดูด จับฝุ่นใหเข้ามาติดอยู่กับแผ่นกรอง สามารถดักจับฝุ่นขนาด เล็กมากๆ ได้ และยังผลิตอากาศบริสุทธิ์ได้ด้วย ระบบนี้ ราคาค่อนข้างสูง แต่จะประหยัดในระยะยาว เพราะสามารถ ถอดล้างทำความสะอาดได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแผ่นกรอง

การติดตั้ง HOOD ระบายอากาศในห้องครัว
HOOD ระบายอากาศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องครัว เพื่อระบายอากาศ และกลิ่น จากภายในสู่นอกอาคาร สิ่งที่ต้องคำนึงในการติดตั้ง คือ
1. ขนาดของห้องครัว และลักษณะของการปรุงอาหารว่าเป็นอาหารประเภทไหน มีควัน มีกลิ่นมากน้อยเท่าไร รวมไปถึงการกำหนดทิศทางของอากาศที่ระบายออกมา ต้อง ไม่รบกวนส่วนอื่นๆ ของบ้าน
2. ระยะของเคาน์เตอร์ปรุงอาหารกับความสูงของช่องท่อลม ต้องสัมพันธ์กันเพื่อ ประสิทธิภาพในการทำงาน และต้องมีความสัมพันธ์กับประเภทการใช้เตาว่ามีเปลวไฟสูง ขนาดไหนด้วย เพราะมีสายไฟฟ้าอยู่ภายในอาจเกิดอันตรายได้

ระบบปรับอากาศ

ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System) คือ ระบบที่ทำหน้าที่ปรับสภาพของอากาศให้เหมาะกับสภาวะที่ผู้ใช้ต้องการ อาจจะเป็นการปรับอากาศเพื่อการเก็บรักษาอาหาร หรือสิ่งของ และรวมถึงการปรับอากาศเพื่อการอยู่อาศัยในอาคารด้วย โดยอาจจะเป็นการปรับให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ำลงก็ได้ และยังต้องมีการควบคุมปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเร็วลม กลิ่นและสิ่งเจือปนในอากาศด้วย
ระบบปรับอากาศ

- ชนิดของระบบปรับอากาศ
มีอยู่ 3 ระบบ คือ ระบบติดหน้าต่าง ระบบแยกส่วน ที่เรียกว่า สปลิทไทพ์ (Split Type) และระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller)

- ระบบติดหน้าต่าง ต้องเตรียมโครงไว้สำหรับรับน้ำ หนักของตัวเครื่อง เพราะมีน้ำหนักมาก และต้องติดลอยอยู่ กลางกำแพง ถ้าไม่เตรียมไว้จะเกิดการแตกร้าวได้ เพราะความ สั่นสะเทือนของเครื่อง

-ระบบแยกส่วน จะมีปัญหามาก ถ้าตัวเครื่องเป่าลม เย็นอยู่กลางห้อง เพราะต้องคำนึงถึงการระบายน้ำว่าจะไปทาง ใด และถ้าต่อลงห้องน้ำ ก็อาจมีกลิ่นย้อนเข้ามา ทำให้ภายใน ห้องมีกลิ่นเหม็น และภายนอก ต้องมีที่วางคอนเดนเซอร์

เครื่องทำลมเย็นของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน จะประกอบด้วย โบล์เวอร์ และคอล์ยเย็น ซึ่งมีสารทำความเย็นระเหยอยู่ภายในคอล์ยที่ความดันต่ำ ถ้าเป็นสารทำความเย็นฟรีออน 22 ที่ใช้กันจะมีความดันประมาณ 4.5 บาร์ ขณะที่ท่อทนความดันได้กว่า 20 บาร์ โอกาสที่จะเกิดการระเบิดจึงน้อยมาก และหากจะมีการระเบิดเกิดขึ้น เพราะความบกพร่องของฝีมือการประกอบก็จะไม่เกิดไฟไหม้ขึ้น เพราะสารทำความเย็นไม่ติดไฟ เป็นสารที่สามารถใช้ดับไฟได้ โดยเฉพาะใช้เป็นสารดับไฟในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ โดยการเข้าไปไล่อากาศ (ออกซิเจน) ออกไปจากห้อง หรือทำให้อากาศภายในห้องมีสัดส่วนออกซิเจนเจือจางจนไฟดับไป

- ระบบเครื่องทำน้ำเย็น (Water Chiller) เครื่องปรับอากาศที่ใช้ในอาคารขนาดใหญ่ โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องปรับอากาศระบบน้ำเย็น ซึ่งมีน้ำเย็นไหลเวียนไปยังเครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่จะปรับอากาศของอาคาร น้ำเย็นที่ไหลเข้าไปใน เครื่องทำลมเย็นมีอุณหภูมิประมาณ 7 C แลไหลออกไปมีอุณหภูมิประมาณ 13 C ในขณะที่อากาศที่ไหลเข้าไปมีภาวะที่ 26 C กระเปาะแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ 55 เปอร์เซ้นต์ และออกจากเครื่องที่ภาวะ 15.5 C กระเปาะแห้ง 14.5 C กระเปาะเปียก น้ำที่ออกจากเครื่องทำลมเย็นจะถูกปั้มเข้าไปในเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ ที่ติดตั้งอยู่ในห้องเครื่องประธาน (Main Machine Room) เพื่อทำให้น้ำมีอุณหภูมิลดลงจาก 13 C เป็น 7 C เครื่องทำลมเย็นที่ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่ปรับอากาศ มีส่วนประกอบคือ แผ่นกรองอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นแผงใยอะลูมิเนียม แผงท่อน้ำเย็นที่มีน้ำเย็นไหลอยู่ภายใน มีโบล์เวอร์และมอเตอร์ไฟฟ้าที่ดูดอากาศ จากบริเวณที่ปรับอากาศ ให้ไหลผ่านแผ่นกรอง และแผงท่อน้ำเย็น แล้วส่งอากาศ ที่ถูกกรองให้สะอาดและถูกทำให้เย็นลงเข้าไป ปรับอากาศในบริเวณที่ปรับอากาศ จะเห็นได้ว่าบริเวณที่ปรับอากาศนั้นมีเฉพาะเครื่องทำลมเย็นท่อน้ำ และท่อลมที่ต่อเข้ากับ เครื่องทำลมเย็นเท่านั้น ไม่มีส่วนที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ ไม่มีส่วนที่จะระเบิด ท่อน้ำอาจจะแตกได้ถ้าประกอบหรือเชื่อมไม่ดี และหากท่อแตก ก็จะทำให้น้ำรั่วกระจายทำความเสียหายเพราะเปียกน้ำเท่านั้น


- วิธีการติดตั้งระบบแยกส่วน (Split Type)
แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
1. แบบตั้งพื้น คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับพื้น วิธีนี้จะสะดวกในการติดตั้ง สามารถซ่อนท่อน้ำทิ้งได้สะดวก ดูแลรักษาง่าย แต่จะเสียพื้นที่ในการติดตั้ง ไม่เหมาะสำหรับ ห้องเล็ก
2. แบบติดผนัง คือส่วนที่เป่าลมเย็นไว้กับผนัง การ ติดตั้งค่อนข้างลำบาก เสียพื้นที่การใช้งานในส่วนผนัง แต่ไม่ เสียพื้นที่การใช้งานของห้อง ถ้าเกิดการรั่วซึม จะทำให้ห้อง เลอะเทอะบริเวณผนัง
3. แบบแขวนเพดาน คือ ติดตั้งส่วนที่เป่าลมเย็นไว้ บนเพดาน ข้อดี คือ ใช้พื้นที่ห้องได้เต็มที่มากกว่า 2 แบบ แรก การติดตั้งลำบากมาก เพราะต้องแขวนกับฝ้าเพดาน ต้องเตรียมวางแผนล่วงหน้า การดูแลรักษายาก ยิ่งเกิดการ รั่วซึมจะทำให้พื้นที่ใช้งานใต้เครื่องเปียกได้


- วิธีป้องกันหยดน้ำจากท่อน้ำทิ้ง
โดยทั่วไปการติดตั้งเครื่องปรับอากาศจะเตรียมท่อ น้ำทิ้ง เพื่อระบายน้ำออกนอกบ้าน โดยใช้ท่อ PVC. ขนาด 1 นิ้ว แต่อาจจะทำให้เกิดหยดน้ำที่ท่อได้ เนื่องจากอากาศ ภายในท่อน้ำทิ้งซึ่งเย็นเมื่อเทียบกับอากาศภายนอกซึ่งร้อน จะเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะตามท่อ และจะหยดเลอะ เทอะภายในห้อง ดังนั้นวิธีที่ถูกต้อง ควรหุ้มด้วยฉนวนที่ท่อ น้ำทิ้งด้วย ฉนวนดังกล่าวจะทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้อากาศ ภายนอกกับภายในสัมผัสกันโดยตรง และจะสามารถป้องกัน การเกิดหยดน้ำได้และเพื่อความสวยงามของห้อง ก็ควรทาสี หรือใช้เทปพันบริเวณท่อฉนวนนั้นให้กลมกลืนกับสีข้องห้อง

- ปัญหาของการเดินท่อน้ำทิ้ง
ปัญหาที่เกิดจากการติดตั้งเครื่องปรับอากาศก็คือ การเดินท่อน้ำทิ้งซึ่งจะปรากฏอยู่ภายในห้อง ทำให้ไม่สวย งาม วิธีการแก้ไข คือ
1. พยายามติดตั้ง FAN COIL ไว้กับผนังที่ติด กับภายนอก เพื่อให้ท่อต่างๆ เจาะทะลุผนังออกสู่ภายนอก ได้โดยให้มีส่วนของท่อน้ำทิ้งอยู่ในห้องน้อยที่สุด
2. ถ้าเป็นห้องอยู่กลางบ้าน อาจแก้ไขด้วยการฝังท่อน้ำทิ้งเข้ากับผนัง ถ้าเป็นผนังปูน ก็ใช้วิธีการสกัดผนังฝังท่อลงไปแล้วฉาบปูนทับหรือถ้าเป็นผนังเบาเช่น ยิบซั่ม บอร์ด หากความกว้างของโครงเคร่ากว้างพอก็ฝังท่อในผนังได้เลย แต่ถ้ากว้างไม่พอก็อาจเสริมโครงเคร่าอีก 1 ชั้น เพื่อให้ความกว้างเพียงพอในการซ่อนท่อน้ำทิ้งแล้วจึงเจาะผนังด้านที่ติดกับภายนอก เพื่อระบายน้ำออกอีกทีหนึ่ง

- ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ
ประโยชน์ของเครื่องปรับอากาศ นอกจากทำความ เย็นแล้วยังช่วยทำให้อากาศสะอาด และควบคุมความชื้น ภายในห้องด้วย
แต่สิ่งที่ไม่ควรลืมคือ การติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ด้วย เพราะจะทำให้อากาศไม่อับ มีการถ่ายเทอากาศจาก ภายนอกด้วย ซึ่งถ้ามีแต่ระบบทำความเย็นอย่างเดียว จะทำ ให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีผลเสียต่อสุขภาพ

- ปัญหาเครื่องปรับอากาศไม่เย็น
เหตุที่แอร์ไม่เย็นอาจจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
1. ตัวเครื่องแอร์กับคอนเดนเซอร์อยู่ห่างกันเกินไป
2. ตัวคอนเดนเซอร์อยู่ในที่อับไม่สามารถระบาย อากาศได้
3. น้ำยาแอร์หมด
นอกจากนี้แล้วก็ยังขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและวิธีการใช้ที่ถูกต้องก็จะทำให้ยืดอายุการใช้งานได้อีกนาน

- วิธีการใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัด
แบ่งได้ 2 แบบ คือ
1. วิธีประหยัดที่ไม่ต้องลงทุน เช่น จัดระบบให้ เครื่องปรับอากาศทำงานเป็นช่วงสลับกัน และปรับความเย็น ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะคือ 25 องศาเซลเซียส ควบคุม ปริมาณอากาศภายนอกที่จะเข้ามา เพื่อไม่ให้เสียความเย็น ออกไป ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศอย่างสม่ำเสมอ และ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศให้อยู่สูงจากพื้นพอควร เพื่ออากาศจะ ได้หมุนเวียนได้โดยง่าย และอย่าให้เครื่องได้รับแสงอาทิตย์ โดยตรง จะทำให้เครื่องทำงานหนักขึ้น
2. วิธีประหยัดที่ต้องลงทุน เช่น ใส่ฉนวนกันความ ร้อนที่เพดาน ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่หลังคาของบ้าน หรืออาจติดตั้งกระจก 2 ชั้นเพื่อลดความ ร้อนจากแสงอาทิตย์ ซึ่งวิธีนี้ค่อนข้างมีค่าใช้จ่ายสูง รวมทั้ง การติดตั้งม่านกันแสง เลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้ เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ห้อง และควรเป็นเครื่องปรับ อากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 ด้วย

พันธมิตร

ระบบประปา

ระบบน้ำประปา มีส่วนสำคัญคือ การจ่ายน้ำที่สะอาดไปยังจุดที่ใช้งานต่าง ๆ ในปริมาณ และแรงดันที่เหมาะสม กับการใช้งาน นอกเหนือ จากนั้น ยังจะต้องมีระบบ การสำรองน้ำในกรณีฉุกเฉิน หรือมีการปิดซ่อม ระบบภายนอก หรือช่วงขาดแคลนน้ำ และในอาคาร บาง ประเภท ยังต้องสำรองน้ำสำหรับ ระบบดับเพลิงแยก ต่างหากอีกด้วย
หลักการจ่ายน้ำภายในอาคารมี 2 ลักษณะคือ
1) ระบบจ่ายน้ำด้วยความดัน (Pressurized/Upfeed System)เป็นการจ่ายน้ำโดยอาศัย การอัดแรงดันน้ำ ในระบบ ท่อประปาจากถังอัดความดัน (Air Pressure Tank) ระบบที่ใช้กับ ความสูงไม่จำกัด ทั้งยังไม่ต้องมี ถังเก็บน้ำ ไว้ดาดฟ้าอาคาร2) ระบบจ่ายน้ำโดยแรงโน้มถ่วง (Gavity Feed/Downfeed System)เป็นการสูบน้ำขึ้นไปเก็บไว้บนดาดฟ้าแล้ว ปล่อยลงมาตามธรรมชาติ ตามท่อต้องเป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 10 ชั้น ขึ้นไป ถือเป็น ระบบ ที่ไม่ซับซ้อนไม่ต้องใช้ไฟในการจ่าย แต่จะต้องเตรียมถังเก็บน้ำ ไว้บนดาดฟ้า จึงต้องคำนึงถึง เรื่องโครงสร้างในการ รับน้ำหนัก และความสวยงามด้วย
ในการสำรองน้ำสำหรับการใช้งานนั้นจะต้องมีการใช้ถังเก็บน้ำแบบต่าง ๆ มาประกอบการใช้งาน ถังเก็บน้ำที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ในปัจจุบันนั้นมีหลายแบบให้เลือกใช้ รวมทั้งอาจจะต้องมีเครื่องสูบน้ำติดตั้งอีกด้วย แต่เครื่องสูบน้ำนั้น ห้ามต่อระหว่าง ระบบสาธารณะ กับถังพักน้ำในบ้าน เพราะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเนื่องจาก เป็นการสูบน้ำจากระบบสาธารณะ โดยตรงซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น การสูบน้ำในบ้านจะต้องปล่อยให้น้ำจาก สาธารณะมาเก็บ ในถังพักตาม แรงดันปกติเสียก่อนแล้วค่อยสูบน้ำไปยังจุดที่ต้องการอื่น ๆได้
ตำแหน่งที่ตั้งถังเก็บน้ำที่ใช้งานทั่วไปมีที่ตั้ง 2 แบบคือ
- ถังเก็บน้ำบนดิน ใช้ในกรณีที่มีพื้นที่เพียงพอกับการติดตั้ง อาจติดตั้งบนพื้นดิน หรือบนอาคาร หรือติดตั้งบนหอสูง เพื่อใช้ประโยชน์ ในการใช้แรงดันน้ำ สำหรับแจกจ่ายให้ส่วนต่างๆของอาคาร การดูแลรักษาสามารถทำได้ง่ายแต่อาจดูไม่เรียบร้อยและไม่สวยงามนัก
- ถังเก็บน้ำใต้ดิน ใช้ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ในการติดตั้งเพียงพอและต้องการให้ดูเรียบร้อยสวยงามการบำรุงดูแลรักษาทำได้ยาก ดังนั้นการก่อสร้าง และการเลือก ชนิดของถังต้องมีความละเอียดรอบคอบ

11/11/2551

ระบบไฟฟ้า

วิธีการเดินสายไฟฟ้าประเภทแรกคือ การเดินสายไฟบนผนังหรือที่เรียกว่า เดินลอย วิธีนี้ค่าใช้จ่ายถูกกว่า แต่จะมองเห็นสายไฟบนผนัง ไม่ค่อยเรียบร้อย การตกแต่งห้องลำบากกว่า แต่สามารถตรวจ สอบความเสียหายได้ง่าย รวมทั้งการเปลี่ยนสายไฟก็ง่าย เพราะมองเห็นประเภทที่สองคือ การเดินผ่านท่อซึ่งฝังในผนังอาคารหรือที่เรียกว่า เดินร้อยสายผ่านท่อ วิธีนี้จะได้งานที่เรียบร้อย เพราะมองไม่เห็น จากภายนอก ท่อสายไฟจะฝังอยู่ในผนัง ต้อง ทำพร้อมการก่อสร้างอาคาร การตกแต่งห้องจะง่ายกว่าและมีท่อป้องกันสายไฟไว้ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า แบบแรก การติดตั้งก็ยุ่งยากกว่ารวมถึงการตรวจสอบและการเปลี่ยนภายหลังก็ทำได้ ลำบากกว่าแบบแรก
- ระบบไฟฟ้าภายในบ้านระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ควรแยกวงจรเป็นส่วนๆ ไว้ เช่น แยกตามชั้นต่างๆ หากเกิดไฟฟ้าขัดข้องขึ้นที่ชั้นไหน ก็ สามารถสับคัตเอาท์ ปิดไฟเฉพาะส่วนชั้นนั้น เพื่อซ่อมแซมได้ และที่สำคัญส่วน ห้องครัว ควรแยกวงจรไว้ต่างหาก ด้วย เวลาไม่อยู่บ้านนานๆ จะได้ปิดไฟทั้งหมด เหลือเฉพาะ ส่วนครัวไว้ตู้เย็นในครัวจะใช้งานได้ อาหารต่างๆ จะได้ไม่เสีย- ปัญหาของสายไฟฟ้าตามปกติทั่วไปสายไฟฟ้าจะมีอายุการใช้งานประมาณ 7-8 ปี แต่เมื่อมีการตรวจเช็ค และพบว่าฉนวนที่หุ้มสายไฟ เริ่มเปลี่ยนสี เป็นสีเหลืองและเริ่มกรอบแตก ก็สมควรที่จะ เปลี่ยนสายไฟใหม่ โดยไม่ต้องรอให้หมดอายุก่อน เพราะ อาจลัดวงจร และทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้สายไฟฟ้าควรเดินอยู่ในท่อร้อยสายไฟ เพื่อป้องกัน ฉนวนที่หุ้มสายไฟไม่ให้ขีดข่วนชำรุด โดยเฉพาะสายไฟที่เดิน อยู่ภายนอกบ้าน เช่น ไฟรั้ว สนาม หรือกระดิ่งที่ติดอยู่หน้า บ้าน ส่วนใหญ่จะไม่มีท่อหุ้ม เมื่อโดนแดดโดนฝนนานๆ ก็จะ รั่วได้ เป็นอันตรายมาก ควรหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ หรือถ้า เปลี่ยนเป็นแบบเดินท่อก็จะปลอดภัยกว่า ที่สำคัญเวลามีปัญหา อย่าซ่อมไฟฟ้าเอง ควรตามผู้รู้หรือช่างมาซ่อมจะดีกว่า- ชนิดของหลอดไฟหลอดไฟที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 2 ประเภท คือหลอดอินแคนเดสเซนต์ หรือหลอดแบบมีไส้ ทำงาน โดยการปล่อยกระแสไฟเข้าสู่ขดลวด เพื่อให้เกิดความร้อน แล้วเปล่งแสงออกมา หลอดชนิดนี้จะกินไฟมาก มีอายุการ ใช้งานประมาณ 750 ชม.หลอดอีกประเภท คือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ หลอดนีออน เป็นหลอดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะมี ประสิทธิภาพสูง มีราคาสูง (การทำงานซับซ้อนกว่าจะได้แสง มา) มีอายุการใช้งานประมาณ 8,000ชม.- ชนิดของโคมไฟชนิดของโคมไฟแบ่งตามชนิดของการใช้งานได้ ดังนี้โคมส่องห้องโดยทั่วไป จะเป็นโคมที่ติดบนฝ้าเพดาน หรือผนังก็ได้ ความสว่างจะปานกลาง เพื่อให้เห็นห้องโดยทั่ว ไปรวมถึงทางเดินและบันไดด้วยโคมส่องเฉพาะจุด จะมีความสว่างมากกว่า จะใช้ส่อง เฉพาะจุดที่จะเน้นความสำคัญ เช่น รูปภาพ ต้นไม้ หรือจุดที่ ต้องทำงานเป็นพิเศษ เช่น มุมอ่านหนังสือ ส่วนทำงาน หรือ เตรียมอาหารโคมสำหรับตั้งพื้น จะมีความสว่างน้อยที่สุด จะใช้เพื่อ นั่งพักผ่อน ดูทีวี ฟังเพลง ห้องนอน เพื่อบรรยากาศที่ดี ไม่ ต้องการแสงสว่างมารบกวนมากจนเกินไป- ระบบไฟฟ้าในห้องน้ำสำหรับห้องน้ำขนาดกลางโดยทั่วๆไป จะมีขนาด ประมาณ 4-6 ตารางเมตร ควรจะมีไฟส่องสว่างประมาณ 2 จุด จุดแรกที่หน้ากระจกติดกับอ่างล้างหน้า ส่วนที่สอง ควรอยู่กลางห้องบริเวณส่วนที่อาบน้ำ แต่ต้องระวังไม่ให้ต่ำ ลงมาจนถูกน้ำกระเด็นโดนได้ ส่วนปลั๊กควรอยู่ในระดับที่ สูงพอจะใช้งานได้สะดวก เช่น ใช้สำหรับที่เป่าผม หรือที่ โกนหนวด และควรจะใช้ชนิดมีฝาปิด เพื่อไม่ให้โดนน้ำ และที่สำคัญสวิทซ์ปิด-เปิดควรอยู่นอกห้อง และระบบวงจร ไฟฟ้าของห้องน้ำควรมีเบคเกอร์ตัด เมื่อเกิดไฟฟ้าช็อตด้วย- หลอดไฟฟ้า "ฮาโลเจน"หลอดไฟแบบ "ฮาโลเจน" จะให้แสงสีขาวนวล มี ความสว่างมากกว่าหลอดแบบอินแคนเดสเซนต์ในกำลังวัตต์ ที่เท่ากัน จึงทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่า แต่หลอดฮาโล- เจนจะมีราคาสูงกว่า ประโยชน์ใช้สอยที่เหมาะสมกับหลอด ประภทนี้ได้แก่ ใช้ไฟส่องที่โต๊ะทำงาน ปฏิมากรรม และภาพ เขียนประดับผนังต่างๆ ทำให้งานดูโดดเด่นขึ้น- ประโยชน์และชนิดของ "ฟิวส์""ฟิวส์"เป็นเครื่องป้องกันกำลังของกระแสไฟฟ้าที่เกินขนาดหรือเกิดการลัดวงจร แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือแบบที่ 1 ฟิวส์เส้น จะมีลักษณะเป็นเส้นเปลือยใช้ต่อ เชื่อมในวงจร เมื่อเกิดการลัดวงจร ฟิวส์เส้นนี้จะขาดแบบที่ 2 ฟิวส์หลอด จะมีลักษณะเป็นหลอดกระเบื้อง เมื่อเกิดการช็อตจะทำให้เกิดประกายไฟ ภายในบรรจุสารเคมี เพื่อป้องกันการสปาร์ค จะดีกว่าแบบแรกแบบที่ 3 ปลั๊กฟิวส์ จะมีลักษณะคล้ายหลอดเกลียว ใช้โดยวิธีหมุนเกลียวเข้าไป มีลักษณะการทำงานเหมือนแบบที่ 2 แต่จะไม่เกิดประกายไฟ- วิธีการประหยัดไฟฟ้า ข้อควรปฏิบัติเพื่อการประหยัดไฟฟ้ามี ดังนี้1. ปิดสวิทซ์เมื่อไม่ใช้งาน หรือเมื่อออกจากห้องถึงแม้ ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ ก็ตาม2. ใช้หลอดไฟฟ้าวัตต์ต่ำ ควรตรวจดูความเหมาะสม ของห้อง เช่น ห้องกว้างควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์ หรือห้องเล็กก็ใช้ 18 วัตต์ ควรใช้แสงสว่างเท่าที่จำเป็น3. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟและโคมไฟอยู่ เสมอ เพราะละอองฝุ่นที่เกาะอยู่จะทำให้แสงสว่างลดน้อยลง และอาจเป็นสาเหตุให้ท่านต้องเปิดไฟหลายดวงเพื่อให้แสง สว่างพอเพียง สำหรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีขายในท้อง ตลาด ปัจจุบันมีชนิดที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ ซึ่งให้แสงสว่างเท่ากับหลอดอินแคนเดสเซนต์ ขนาด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์ แต่กินไฟน้อยกว่า

เว็บที่เกี่ยวข้อง

ประตูรีโมท, ประตูอัตโนมัติ,มอเตอร์เกียร์ ,gear motor, automatic gate www.serveair.com